333666999666333
Getting your Trinity Audio player ready...

“รวี สส.” เมืองแม่หม้าย เขตห้ามพูดโกหก เตือน! “อย่าทำสงครามราคาทุเรียน” เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำสงครามราคา จะมีแต่ส่งผลแย่ คนที่มีสายป่านสั้นที่สุดก็จะเจ็บที่สุด ทั้งแต่ผู้ผลิตและพ่อค้าแม่ค้า ทุเรียนหลง-หลินลับแล ยังมีโอกาสเติบโตและส่งออกได้มากขึ้น ฝากผู้นำท้องที่ท้องถิ่น นายกเทศมนตรี ช่วยกันพัฒนาทุเรียนบ้านเราตลาดบ้านเราให้พัฒนาไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น พร้อมเชิญเที่ยวงานเทศกาลทุเรียนหลง-หลิน 4-6 กรกฎาคมนี้ ธูบกว่า 100 ร้าน ชมประกวดธิดาและหนูน้อย หลง-หลิน แข่งกินทุเรียน ส้มตำลีลา อาหารพื้นที่ ข้าวพัน ข้าวแคบ ของดีชุมชน พร้อมร่วมสัมผัสเสน่ห์ทุเรียน GI และความอบอุ่นของชาวลับแล ผลไม้สร้างชื่อให้จังหวัด สร้างเศรษฐกิจอำเภอ ปีไม่เกือบ 1,000 ล้านบาท

Image51 Image52Image37 Image40 Image41 Image42 Image43 Image45 Image46Image48

เมื่อเร็วๆนี้ ที่บริเวณตลาดกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวดง (ทุเรียนหลง-หลิน หมอนทองลับแล) เยื้องกับศูนย์ OTOP นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดอุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย เขต 3 นายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอลับแล พร้อมด้วย นางสาวภัททิรา คำอภิวงศ์ รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ นายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)อุตรดิตถ์และนายเพลิน ศิริเกตุ นายกเทศมนตรีตำบลหัวดง ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน “เทศกาลทุเรียน หลง – หลินลับแล ประจำปี 2568” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานราชการ อาทิ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรอำเภอลับแล หอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์ เทศบาลตำบลแม่พูล เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง เทศบาลตำบลพระเสด็จ สมาชิสภาเทศบาลตำบลหัวดงและประชาชน เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวการจัดงาน “เทศกาลทุเรียน หลง – หลินลับแล ประจำปี 2568”

การจัดงานครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์คุณลักษณะพิเศษของทุเรียนพันธุ์หลงและพันธุ์หลินลับแลให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการซื้อขายผลไม้ และประชาชนโดยทั่วไปทำให้เกษตรกร ผู้ผลิตทุเรียนมีรายได้เพิ่มขึ้น, เพื่อเป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยประสานเชื่อมโยงระหว่างกันทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีการผลิต การเพาะปลูก ขยายพันธุ์ การตลาดและการกระจายสินค้าและผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในตำบลจากการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาซื้อผลผลิตในตำบลทำให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจดีขึ้น, เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ในพื้นที่ได้มีความรู้ความเข้าใจและทัศนะที่ถูกต้องในการปรับปรุงบำรุงพันธุ์การดูแลรักษา การแปรรูป การบริหารจัดการด้านคุณ ภาพและการตลาด, เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจร่วมกิจ กรรมนันทนาการในระหว่างฤดูกาลเก็บเกี่ยวทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น, เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับประชาชนเพิ่มมากขึ้น

โดยคาดการณ์การว่าจัดกิจกรรมงานเทศกาลมหัศจรรย์ ทุเรียนหลง-หลิน เมืองลับแล ประจำปี พ.ศ.2568 จะมีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 6,000 คน เงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 6,750,000 บาท คาดหวังว่าผลที่จะได้รับคือ 1.ผู้บริโภค ผู้ประกอบ การซื้อขายผลไม้และประชาชนโดยทั่วไป ทราบถึงคุณลักษณะพิเศษของทุเรียนพันธุ์หลงและพันธุ์หลินลับแล 2.การจัดงานฯ เป็นสถานที่กลางทำให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนประสานเชื่อมโยงระหว่างด้านวิชาการ เทคโนโลยีการผลิต การเพาะปลูกขยายพันธ์ การตลาดและการกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จากการชายสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาซื้อผลผลิตในตำบลทำให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของตำบลแม่พูล อำเภอลับแลและจังหวัดอุตรดิตถ์ดีขึ้น 3.เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกษตรชาวสวนผลไม้ในพื้นที่ให้มีความรู้ความเจ้าใจและทัศนะที่ถูกต้องในการปรับปรุงบำรุงพันธุ์การดูแลรักษา การแปรรูป การบริหารจัดการด้านคุณภาพและการตลาด 4.เกษตรกรกรขาวสวนผลไม้และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจร่วมกิจกรรมนันทนาการในระหว่างฤดูกาลเก็บเกี่ยวทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น 5.เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับประชาชนเพิ่มมากขึ้นทำให้เศรษฐกิจของตำบลแม่พูล อำเภอลับแล และจังหวัดอุตรดิตถ์ดีขึ้น 6.การดำเนินโครง การมีประชาชนและนักท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า 6,000 คนเข้าร่วมงาน ส่งผลทำให้มีเงินหมุนเวียนสะพัด ไม่ต่ำกว่า 6,570,000 บาท

Image1Image5 Image2 Image3 Image4.1 Image4.2 Image4 Image7 Image8Image9

นอกจากนี้ การจัดงานยังมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม ทุเรียน GI สายพันธุ์หลง-หลินลับแล ให้กลายเป็น Soft Power ด้านอาหาร ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วง Green Season หรือฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ทุเรียนออกผลผลิตมากที่สุด สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวเมืองรอง ทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล ถือเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอลับแล ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตั้งแต่ปี 2561 มีจุด เด่นเรื่อง รสชาติหวานมัน กลิ่นไม่แรง เนื้อเนียนละเอียด ครีมมี่ จนเป็นที่ชื่นชอบของบบรดาคอทุเรียนทั้งในและต่าง ประเทศ พื้นที่ปลูกทุเรียนในลับแลมีมากถึง 3,500 ไร่ จากพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมดในจังหวัดกว่า 50,000 ไร่ สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจด้านผลไม้ปีละไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ชิม-ช๊อปอร่อยกับผลไม้ทุเรียนหลง-หลิน และหมอนทองลับแล ทั้งในสวนผลไม้ที่มีให้เลือกเป็นจำนวนมากและในกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวดงอย่างเต็มที ภายในงานยังมีคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง แสดงจากเวทีกลาง พร้อมด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านลับแล การออกบูธจำหน่ายทุเรียนคุณภาพจากชาวสวนกว่า 100 ร้าน ชิมช็อปอาหารพื้นถิ่น เช่น ข้าวพันผัก หมี่พัน และของดีจากชุมชน การประกวดธิดาหลงหลินลับแล – หนูน้อยหลงหลิน การแข่งกินทุเรียน ส้มตำทุเรียนลีลาและพบกับจุดไฮไลต์ห้ามพลาดกับ “หุ่นยนต์ทุเรียนยักษ์สูง 10 เมตร” สำหรับนักท่องเที่ยวสายถ่ายภาพ งานนี้ไม่เพียงเป็นเทศกาลท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ สนับสนุนการผลิตทุเรียนคุณภาพดี และอนุรักษ์ภูมิปัญญาเกษตรท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป โดยทางอำเภอลับแล ชาวสวนลับแลและพ่อค้าแม่ค้าทุเรียน พร้อมให้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ ได้เข้ามาสัมผัสเสน่ห์ของทุเรียน GI และความอบอุ่นของชาวลับแลในช่วงฤดูฝน สดชื่นและอร่อยแบบเต็มคำ กิจกรรมการจัดงานเริ่มมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2568 ณ.ตลาดกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวดง (OTOP) อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

นายรวี (ส.ส.) จังหวัดอุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย เขต 3 กล่าวว่า  ในส่วนที่ที่ต้องการกล่าวเสริมเรื่องทุเรียนคือ การรักษาคุณภาพรวมถึงการทำตลาด ถึงแม้นว่าจะมีผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างมากมายอยู่ในมือ แต่หากไม่มีการตลาดที่ดีหรือการส่งเสริมหรือการประชาสัมพันธ์ที่ครบถ้วน มันก็จะส่งผลกระทบต่อราคา หรือแม้นกระทั่งตัวผลผลิตทุเรียนอุตรดิตถ์ของเรา ที่ผ่านมาอาจจะได้เห็นข่าวตามสื่อโซเชียลหลายสำนักที่มีการเผยแพร่ออกไป อย่างปัญหาต่างๆที่เกิดกับทุเรียนอุตรดิตถ์ ทุเรียนทั้งประเทศไทยต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ทุเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีการส่งออกไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน

Image12 Image13 Image14 Image15 Image16 Image17 Image18 Image19 Image20 Image21

นายรวี (ส.ส.) จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ในประเทศจีนปัจจุบันมีการเข้มงวดเรื่องทุเรียนที่ส่งออกมายังประเทศเขา ไม่ว่าจะเป็นตัวสารสารแคดเมียมหรือตัวสารบีวายทู (BY2) ที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นท้องที่ท้องถิ่น รวมถึงจังหวัดเองและภาครัฐ ที่จะให้ความสำคัญด้านนี้ในการที่จะตรวจสอบความเข้มงวดต่างๆเพื่อให้เข้าการและหลักการต่างๆของประเทศจีน เพื่อทำให้ทุเรียนไทยสามารถส่งออกไปประเทศจีนได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากๆ อีกส่วนหนึ่งที่ตนเห็นความสำคัญมากๆในพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์เราเอง ก็ต้องขอบคุณนายอำเภอลับแลที่ช่วยติดตามดูแลในเรื่องนี้อย่างเข้มงวดมาก คอยประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ในการที่ขอให้พี่น้องเกษตรกรไม่ตัดทุเรียนอ่อน รวมถึงหนอนทุเรียนที่เป็นปัญหาเรื้อรั้งกันมานานแต่เราสามารถเดินไปได้เยอะและควบคุมกันไปได้เยอะมากแล้ว และได้รับการตอบรับที่ดีจากพี่น้องเกษตรกรด้วย รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่ให้ความสำคัญกับการที่ต้องดูแลผลผลิตหรือความเป็นชื่อของทุเรียนหลง-หลินลับแล อย่างที่บอกว่าเรามีทุเรียน GI เป็นของตัวเอง เรามีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เราสามารถบอกกับใครได้ว่า “ทุเรียนหลงลับแลเป็นอย่างไร ทุเรียนหลินลับแลเป็นยังไง” มีคุณภาพแตกต่างจากที่อื่นแบบไหน อันนี้เป็นความภาคภูมิใจที่เราต้องรักษาเอาไว้ให้ได้ เพราะหากเรายังษาจุดนี้ไม่ได้ ทุเรียนอุตรดิตถ์ก็ไม่ต่างจะทุเรียนอื่นทั่วไป เราต้องรักษาจุดเด่นเรื่องคุณภาพ เรื่องสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอาไว้ให้ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ตนมองว่า จะเป็นอะไรที่ยั่งยืนกว่าการที่เราจะมาขายตัดราคา เหมือน Netflix  สงครามส่งด่วนแฟลชเอ็กเพรส จะมีคำพูดหนึ่งที่พูดติดหูไว้ว่า “อย่าทำสงครามราคา” เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำสงครามราคา คนที่มีสายป่านสั้นที่สุดก็จะเจ็บที่สุด ไม่ต่างกันกับทุเรียนของเรากับผลผลิตของเรา การที่เราไปแข่งขันกันเรื่องราคาจะมีแต่ส่งผลแย่ ทั้งแต่ผู้ผลิตและพ่อค้าแม่ค้า การรักษาคุณภาพให้ดีไว้ ให้มีคุณภาพให้ขึ้นชื่อตลอดเวลาเป็นสิ่งที่อยากจะฝากทุกท่านเอาไว้

” มีเรื่องอยากเล่าให้ฟังว่า ตนได้มีโอกาสไปทานข้าวกับที่ปรึกษาเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้มีการพูดคุยกันหลายประเด็น มีประเด็นที่ได้มีการพูดถึงเรื่องของทุเรียน ท่านได้พูดคุยกับผมว่า ท่านได้เคยไปเจอกับผู้นำของมาเลเซีย ทางมาเลเซียก็ได้พรีเซ้นทุเรียนของเขามากเลยว่า มีทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ น่าจะหมายถึง ทุเรียนพันธุ์มูซานคิง (Musang King) แต่ท่านที่ปรึกษาบอกว่า ผมได้เถียงแทนคนไทยให้นะ “ว่าไม่เชื่อ” อย่างไรทุเรียนไทยก็อร่อยกว่า ซึ่งท่านได้พูดแบบนี้ และเป็นสิ่งที่ตนเองภาคภูมิใจที่ทางประเทศจีนยังมีความเชื่อมั่นเชื่อถือในคุณภาพและรสชาดของทุเรียนไทยอยู่ จึงได้บอกว่าท่านน่าจะลองมาที่อุตรดิตถ์ เพราะเรามีทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล ที่รสชาดและคุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่าที่อื่นเลย เป็นสิ่งที่ตนเองยืนยันได้ว่า ทางประเทศจีนยังมีความเชื่อถือเชื่อมั่นในทุเรียนไทย แล้วยังเป็นโอกาสเติบโตของทุเรียนอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะทุเรียนหลง-หลินลับแลและทุเรียนหมอนทองลับแลที่จะสามารถส่งออกได้มากขึ้น และยังมีตลาดที่จะส่งออกไปได้มากยิ่งขึ้นต่อๆไป

ขอย้อนกลับมาจุดเดิมที่เราต้องทำตัวเราเองให้ดี บ้านเราต้องสร้างกำแพงที่เข้มแข็ง อย่าให้ทุเรียนที่อื่นมาเคลมเป็นสินค้าของเราได้ เราต้องรักษามาตราฐานรักษาคุณภาพ รักษชื่อเสียงทุเรียนหลง-หลิน หมอนทองลับแลเอาไว้ให้ได้ เพื่อเป็นส่วนสำคัญที่จะได้เป็นทุเรียนที่มีความสำคัญและทุเรียนที่มีคุณภาพอย่ายั่งยืนอย่างที่ได้บอกกล่าว จึงอยากฝากเรื่องนี้ให้กับพี่น้องประชาชนและพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน รวมถึงผู้นำท้องที่ท้องถิ่น นายกเทศมนตรี ช่วยกันติดตามช่วยกันพัฒนาทุเรียนบ้านเราตลาดบ้านเราให้สามารถพัฒนาไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น” นายรวี(ส.ส.) จังหวัดอุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย เขต 3 กล่าว

Image22 Image23 Image24 Image26 Image27 Image28 Image31 Image32Image33 Image35

Facebook Comments Box

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า