Getting your Trinity Audio player ready...
|
ส.ส.นก อุตรดิตถ์ ลุย! จัดสัมมนา “การจัดทำและการบริหารงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัด” ดึง จนท.สำนักงบ สทนช. ชลประทาน ให้ความรู้ ส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดทำ Thai Water Plan ของบรัฐบาล แก้น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเพื่อการเกษตรทั้ง 9 อำเภอ สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ทำแผน เสนอโครงการ ของบประมาณ โยงกิจกรรม-ลักษณะงาน-แผนน้ำ 5 ด้าน หลักเกณฑ์พิจารณา การติดตาม จนถึงขั้นตอนผ่านสภาผู้แทนฯ วุฒิสภา หวังเป็นโมเดลจังหวัดแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องบอลรูม โรงแรมสีหราช อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “การจัดทำและการบริหารงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดอุดอุตรดิตถ์” จัดโดยคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายไวทิต โอชวิช ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ นายมรกต อินทรภู่ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ นายพฤกษ์ เรืองไวทย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ นายวรเชษฐ์ ชาวเหนือ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ นายพยงค์ ยาเภา วุฒิธนาคารสมองจังหวัดอุตรดิตถ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ นายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอลับแล พร้อมด้วยตัวแทนนายอำเภอ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมประชุมสัมมาในครั้งนี้
นายศิริวัฒน์ กล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพที่สำคัญคือ มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ จุดเด่นด้านการค้าชายแดนและมีศักยภาพการเป็นระเบียเศรษฐกิจ East-West Corridor” เชื่อมเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา ถึงเมืองปากลาย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ประเทศลาว) ซึ่งติดกับชายแดนไทยพื้นที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน มีท่าเรือที่ดีที่สุดของลาวตอนเหนือ สามารรับส่งสินค้าไปถึงประเทศจีนได้
“จังหวัดอุตรดิตถ์ มีแหล่งน้ำสำคัญคือแม่น้ำน่าน ซึ่งไหลผ่านอำเภอท่าปลาและอำเภอน้ำปาด โดยแม่น้ำปาด มีต้นน้ำมาจากประเทศลาว ไหลผ่านอำเภอฟากท่าและอำเภอน้ำปาด ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน จากนั้นลำน้ำน่านไหลผ่านยังพื้นที่อำเภอท่าปลา อำเภอเมือง อำเภอตรอน อำเภอพิชัยไปยังจังหวัดพิษณุโลก”
นายศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า จัดการสัมมนา เรื่อง “การจัดทำและการบริหารงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดอุตรดิตถ์” ในครั้งนี้ ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ประกอบกับผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและรนแรงและภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ทำให้เกิดวิกฤตภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ทำให้ปริมาณฝนในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน บางปีปริมาณน้ำฝนมีจำนวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม บางปีปริมาณน้ำฝนน้อยส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้ง และกลายเป็นความเสี่ยงในการใช้ทรัพยากรน้ำของประเทศไทยและจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำสำคัญดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษา วิเคราะห์รวมเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำงบประมาณของประเทศไทย และภาพรวมการบริหารงานงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งเสริมให้การกำหนดนโยบายด้านการคลังและงบประมาณของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นไปอย่างเหมาะสมและยั่งยืน การจัดสัมมนาครั้งนี้จะนำไปสู่การมีข้อเสนอแนะในการจัดทำและการบริหารงประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดอุตรดิตถ์
“การสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสสำคัญที่คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำติดตามการบริหารงบประมาณ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์อย่างยั่งยืน”
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ตามชื่อหัวข้อนั้น เน้นเรื่องแหล่งน้ำ เรียนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาให้รับทราบว่า ทำไม นางสาวกฤษณา (นก) สีหลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงเน้นเรื่องแหล่งน้ำ จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ประกาศตัวว่า “เราเป็นอาณาจักรแห่งการเกษตร” เมื่อเป็นเรื่องการเกษตรก็ต้องมีเรื่องของน้ำ น้ำที่ประสบพบเจอก็มี น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำพอดี เป็นสิ่งที่เราต้องดึงให้ได้ว่าจะทำอย่างไร เรื่องของการจัดการน้ำ หัวใจหลักของการจัดการแหล่งน้ำ เรื่องของการของบประมาณนั้น จะต้องอยู่ใน Thai Water Plan ใส่ใน Thai Water Plan แล้ว ผ่านมาก็เจอทุกปี ในการทำคำของบประมาณ ไม่พร้อมบ้าง รายละเอียดโครงการไม่มี ส่งเข้าไปแล้วอยู่ในลิสแผน สุดท้ายก็โดนตัดทิ้ง เพราะไม่มีรายละเอียดโครงการ เป็นข้อจำกัดหากเราไม่แก้ไข ก็จะวนเวียนอยู่แบบนี้ “ขอแล้วไม่ได้งบ” หรือคิดจะทำก็ต้องรออีก 2 ปี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า มีตัวอย่างที่เห็นได้ดีที่สุดคือ กรณีของอ่างเก็บน้ำผาโปด ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า ถือเป็นกรณีศึกษาว่า “อ่างเก็บน้ำผาโปด” เป็นอ่างขนาดเล็ก สามารถเก็กกักน้ำได้ 7-8 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานถ่ายโอนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว สิ่งที่เป็นปัญหาและยกให้เห็นว่า อ่างเก็บน้ำเกิดการชำรุดมาเกือบ 5 ปี ไม่ได้เพิ่งมาชำรุดในเร็ววันนี้ แต่ชำรุดสะสมมาเป็นเวลา 5 ปี แต่เราไม่ได้แก้ไขอะไรเลย สุดท้ายเกิดการชำรุดมาก เบื้องต้นจะต้องใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท หากจัดทำเต็มระบบจะต้องใช้งบประมาณ 50-60 ล้านบาท ถามว่าคุ้มไหม? เสียเงิน 70 ล้าน ได้น้ำแค่ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมันไม่คุ้มค่า
“ หากช่วงที่เกิดการชำรุดใหม่ มีการซ่อมแซมใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ก็ต้องถือว่าคุ้มค่า แต่มีการปล่อยจนทำให้เกิดความเสียหายมาก แต่ชาวบ้านก็มีความรู้สึกว่า “เสียอ่างเก็บน้ำผาโปด” ไปไม่ได้ เพราะเป็นแหล่งน้ำในช่วงฤดูแล้ง แต่มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ไม่มาก ผู้เข้าร่วมประชุมถือเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ที่จะทำให้การจัดการแหล่งน้ำหรือการของบประมาณด้านแหล่งน้ำมีประสิทธิภาพ ให้ทุกคนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะวิทยากร เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดตกอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์” นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวทิ้งท้าย
โดยมี นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการศึกษาจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภาผู้แทนราษรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต1 พรรคเพื่อไทย) กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า เหตุผลกระบวนการจัดทำงบประมาณของประเทศไทย ประกอบด้วยการวางแผนงบประมาณจัดทำงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณ การประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณและการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งการจัดทำและการบริหารงบประมาณต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 พ.ศ. 2566-2570 และนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดินสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาลให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่รัฐบาลส่วนกลางจะสามารถจัดทำให้ประสบความสำเร็จและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้ ในขณะที่จังหวัดมีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากกว่า จึงสามารถจัดทำและบริหารงบประมาณ เพื่อจัดบริการระบบสาธารณะ จัดทำระบบสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนในพื้นที่ได้ดีกว่ารัฐบาลส่วนกลาง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 76 กำหนดให้รัฐพึงพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทำบริการสาธารณะ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวเกศแก้ว วิจารณ์กรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานงบประ มาณ เขตที่11 สำนักงบประมาณ พร้อมด้วย นางสาวกีรติการ นาคีสินธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแผนงานและโครงการ1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมบรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดทำและการบริหารงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจังหวัดอุตรดิตถ์ การบริหารจัดการงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ขบวนการจัดสรรงบประมาณ การจัดทำงบประมาณในระดับหน่วยงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ การอนุมัติงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่1 รับหลักการวาระที่2 กรรมาธิการฯ พิจารณา วาระที่3 รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ วุฒิสภาพิจารณาภายใน 20 วัน หลังจากผ่านวาระ3 รวมถึงการบริหารงบประมาณ รวมถึงบทบาทของส่วนราชการในการบริหารงบประมาณ การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ รายงานผลปฏิบัติงาน รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ รวมถึงบทบาทของสำนักงบประมาณ ในการอนุมัติแผนการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ และการอนุมัติการขอใช้เงินเหลือจ่ายของส่วนราชการ การติดตามผลประเมินผล ภาพรวมกรอบวงเงินงบประมาณ คำของบประมาณปี2568 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี หลักเกณฑ์การจัดทำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี2568 หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำของบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานสถานะเงินนอกงบประมาณ รวมถึงการจัดทำงบประมาณจังหวัด ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
รวมถึงระเบียบข้อกฏหมายหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ การบูรณาการเรื่องน้ำ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ความเชื่อมโยงกิจกรรม-ลักษณะงาน-แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทรัพยากรน้ำ 5.การบริหารจัดการ รวมถึงแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ปี 2567-2569 การติดตามตรวจสอบสถานะแผนปฏิบัติบัติการ ในระบบ TWP รวมถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2569 รวมถึงรายละเอียดเกณฑ์ พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่เสี่ยง และรายละเอียดเกณฑ์การกระจายงบประมาณ รายละเอียดเกณฑ์การเสนอแผนที่มีความพร้อมต่อเนื่อง เครื่องมือ Rolling Plan ในระบบ Thai Water Plan เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและอปท.ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำแบบต่อเนื่องและยืดหยุ่น มุ่งเน้นการจัดทำแผนปฏิบัติการในระยะ 5 ปี ทำให้สามารถพิจารณาแผนงานปีปัจจุบันและปีถัดไป ได้อย่างมีความต่อเนื่องเป็นอย่างดี รวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเชื่อมโยงรายการงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี 2566-2580 รวมถึงแผนปฏิบัติการสู่การขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภาและพระราชบัญญัติงบประมาณ
นายเมธี วุฒิเจริญ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ นายกรีธาทัพ บุญย์ศรีสิริไท หัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ ร่วมบรรยายให้ความรู้การจัดทำและการบริหารงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดอุตรดิตถ์ แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์ แนวทางการแก้ไข อาทิ การพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในลำน้ำสำคัญ รวมถึงโครงการสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ อ่างเก็บน้ำน้ำปาด อ่างเก็บน้ำห้วยพังงา อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำลอก รวมทั้งสิ้น 7,600 ล้านบาท ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ 21,669 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรได้รับประโยชน์ 91540 ไร่ รวมถึงแผนของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งสิ้น 92 รายการ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด 1 รายการสำนักงานจังหวัด 1 รายการจังหวัด 9 รายการ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด 1 รายการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ 1 รายการ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 1 รายการ เทศบาลตำบล 25 รายการ องค์การบริหารส่วนตำบล 25 รายการ การเสนอแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปีงบประมาณ 2568 โครงการขนาดใหญ่-โครงการสำคัญ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ 11 รายการ พื้นที่ตำบลคอรุม ตำบลหาดกรวด ตำบลบ้านโคน ตำบลบ้านด่านและตำบลหาดล้า ปี2666-2568
นางสาวกฤษณา นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ช่วงนี้กรรมาธิการท่านอื่นติดภาระกิจติดภาระกิจกันเยอะมาก ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ เรื่องในวันนี้คือ “การจัดทำและการบริหารงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดอุดอุตรดิตถ์” โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จากส่วนกลางกรุงเทพฯ สำนักงานงบประมาณ เขตที่11 สำนักงบประมาณ และผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ กรมชลประทาน รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายที่ผู้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นกลุ่มผู้นำท้องที่ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ จะได้รับทราบปัญหาเนื่องจากแบกปัญหามาเยอะ รวมถึงผู้รู้จากส่วนกลางกรุงเทพและในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน จะมีการอธิบายให้เห็นถึงภาพรวม และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ซักถามปัญหา เพื่อให้เข้าใจถึงระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือติดขัดปัญหาเรื่องใดโดยเฉพาะเรื่องการทำฝายเพื่อทำน้ำประปาแต่ติดพื้นที่ป่า รวมถึงปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ เอลนีโญและลานีญา
นางสาวกฏฤษณา กล่าวว่า พื้นที่อุตรดิตถ์หากเขื่อนสิริกิติ์ยังสามารถรับน้ำได้ จะไม่เกิดน้ำปริมในพื้นที่ริมแม่น้ำ แต่ก็กลัวในเรื่องน้ำหลาก ถ้าหากเราสามารถบริหารจัดการน้ำได้ดี ป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้งได้ดี รัฐจะไม่ต้องเสียงบประมาณในการชดเชย สิ่งต่างๆที่เสียหายไปกับน้ำท่วม เราต้องการดูแลเรื่องระบบในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ให้ดีก่อน สามารถที่จะแก้ปัญหาและจัดทำเป็นโมเดลได้ไหม จังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ใกล้แม่น้ำ แต่ไม่สามารถใช้น้ำได้ ถูกบริหารน้ำไปทางกรุงเทพหมด สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องศึกษา อันที่จริงแล้วน้ำไหล่ผ่านพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ มีหลายวิธีที่จะนำน้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ริมแม่น้ำจะชุ่มด้วยน้ำสามารถ ทำธนาคารน้ำใต้ดินหรือต่อท่อให้ผู้รู้หาทางช่วยทางด้านเทคนิคและงบประมาณช่วยกันคิด
นางสาวกฤษณา กล่าวด้วยว่า ฝายแกนดินเป็นนวัตกรรมของคนไทยที่คิดได้ มีราคาประหยัดและถูก หากจะมีการนำงบประมาณมาลง การขออนุญาตสามารถทำได้ ฝายเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง ได้เช่นเดียวกันและเสียงบประมาณไม่มาก การจัดกิจกรรมทั้งนี้เน้นภาพรวมทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ ตรงจุดไหนน้ำท่วมบ่อยซึ่งมีประสบการณ์กันอยู่แล้ว ตรงไหนน้ำท่วม น้ำแล้ง แก้อย่างไร ความสมบูรณ์ของแบบที่จะยื่นไปยังสำนักงบประมาณ ผู้ขอต้องขยันคิดขยันทำ แจ้งวัตถุประสงค์ให้ตรงจุดกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
“ หน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องทำงานร่วมกับประชาชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ เพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ทำจัดทำข้อเรียกร้องไปยังส่วนกลาง ซึ่งเราต้องเข้าใจประเด็นจุดประเด็นปัญหาให้ชัดเจน และประสานไปหรือเป็นปากเสียงให้กับประชาชน การสัมมนาครั้งนี้คาดหวังว่า ทุกคนจะเข้าใจภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำให้ชัดเจนตรงกัน มีประเด็นที่ชัดเจนที่จะต้องไปติดตามและแก้ไขปัญหาในอนาคต ฝากพี่น้องประชาชนว่า การบริหารจัดการน้ำรัฐบาลให้ความสำคัญอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราต้องศึกษาของเราให้ชัดเจน” นางสาวกฤษณา คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร กล่าว