Getting your Trinity Audio player ready...

“สส.นก อุตรดิตถ์ ” คณะกรรมาธิการเร่งติดตามการใช้งบประมาณและของบประมาณ 2567-268 แขวงฯอุตรดิตถ์ 1-2  ถนนสายภูดู่ limec Northern Economic Corridor ระเบียงเศรษฐกิจการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศไทย พม่าและสปป.ลาว กับพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สะพานปากนายข้ามเขื่อนสิริกิติ์ เสริมการท่องเที่ยวและการขนส่ง ขยายความเจริญและเพิ่มศักยภาพการพัฒนาจังหวัด พบปัญหา “ภูดู่” ยังติดขัดเรื่องพื้นที่ป่าไม้ ที่ต้องได้รับการแก้ไข

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุม109 แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์1 จังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวกฤษณา  สีห ลักษณ์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการศึกษาจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภาผู้แทนราษรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต1 พรรคเพื่อไทย) พร้อมคณะผู้ติดตามเข้ารับการรายงานสรุปความคืบหน้างบประมาณของแขวงการทางอุตรดิตถ์ ที่1 และแขวงการทางอุตรดิตถ์ ที่2 งบประมาณปี 2567 ที่ได้รับจากกรมทางหลวง งบจังหวัดและกลุ่มจังหวัด งบประมาณปี 2568 ที่ได้รับจากกรมทางหลวง งบประมาณปี 2568 และที่ได้รับจากจังหวัด พร้อมแผนงานโครงข่ายทางหลวงที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์

โดยมีนายไชยสิริ คงพิม ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่1 กล่าวรายงานว่า งบประมาณปี 2567 ที่ได้รับจากกรมทางหลวง เป็นงบก่อสร้างขยาย 4 ช่องจราจร พร้อมทางเท้า เส้นทางหลวง 117 พื้นที่ไร่อ้อย-อุตรดิตถ์, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1204 บึงหลัก-ฟากคลองตรอน, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1214 น้ำอ่าง-วังผาชัน, งบกลุ่มจังหวัด ก่อสร้างขยาย 4 ช่องจราจรทางหลวง 117 ป่าขนุน-วังผาชัน ช่วงที่1และช่วงที่2, งบประมาณปี 2568 จากกรมทางหลวง ก่อสร้างขยาย 6 ช่องจราจรพร้อมทางเท้า ทางหลวง1045 อุตรดิตถ์-วังสีสูบ, ก่อสร้างไหล่ทางพร้อมทางเท้า เส้นทางหลวง102 ห้วยไผ่-ห้วยช้าง, ก่อสร้างขยายไหล่ทางพร้อมทางเท้า ทางหลวง1196 วังโป่ง-ด่านแม่คำมัน, งบพัฒนาจังหวัด ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1204 ฟากคลองตรอน-พิชัย

นายชาโณ พยงค์ศรี แขวงการทางอุตรดิตถ์ ที่2 กล่าวรายงานว่า งบประมาณปี 2567 ที่ได้รับจากกรมทางหลวง เป็นงบก่อสร้างขยาย 4 ช่องจราจร เส้นทางหลวง 1045 วังสีสูบ-เขื่อนสิริกิติ์, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1163 ร่วมจิต-น้ำพร้า, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 น้ำปาด-นาไพร, งบพัฒนาจังหวัด ก่อสร้างขยาย 4 ช่องจราจร เส้นทาหลวง 1045 วังสีสูบ-เขื่อนสิริกิติ์, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1268 นาเจริญ-ปางไฮ, งบประมาณปี 2568 จากกรมทางหลวง ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 นาไพร-ม่วงเจ็ดต้น, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1163 ร่วมจิต-น้ำพร้า , งบพัฒนาจังหวัด ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 น้ำปาด-นาไพร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่1 และแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่2 มีแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ (โครงการในอนาคต) ทั้งหมด 13 โครงการ ประกอบด้วย ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ ระยะที่1 ทิศตะวันออก, ขยาย 6 ช่องจราจร เส้นทางหลวง 11 บึงหลัก-หนองน้ำเขียว, ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ เส้นทางหลวง 117 ไร่อ้อย-อุตรดิตถ์, ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ เส้นทางหลวง 117 พญาแมน-ไร่อ้อย, ขยายเป็น 4 ช่องจราจร เส้นทางหลง 117 อุตรดิตถ์-ชายแดนภูดู่ (แยกป่าขนุน-ปางวุ้น), ขยายเป็น 4 ช่องจราจร เส้นทางหลง 117 อุตรดิตถ์-ชายแดนภูดู่ (ปางวุ้น-สักใหญ่), ก่อสร้างขยายไหล่ทาง ถนนกว้าง 12 เมตร เส้นทางหลวง117 อุตรดิตถ์-ภูดู่ (น้ำปาด-สองห้อง) ก่อสร้างปี 2568 งบผูกพัน 3 ปี, ก่อสร้างขยายไหล่ทางถนนกว้าง 12 เมตร เส้นทางหลวง 117 อุตรดิตถ์-ชายแดนภูดู่ สองห้อง-ฟากท่า, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง ถนนกว้าง 12 เมตร เส้นทางหลวง 117 อุตรดิตถ์-ชายแดนภูดู่ ฟากท่า-ภูดู่, ก่อสร้างทางแนวใหม่ ม่วงเจ็ดต้น-จุดผ่านแดนภูดู่, ก่อสร้างเส้นทางเลี่ยงเมืองน้ำปาด 4 ช่องจราจร ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1139 ห้วยมุ่น-ปากนาย ตอนน้ำปาด-ปากนาย, ก่อสร้างสะพานข้ามเขื่อนสิริกิติ์ เส้นทางหลวง 1139/1206 สะพานปากนายข้ามเขื่อนสิริกิติ์ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ -อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่2 ได้ดำเนินโครงการที่ขอรับงบประมาณปี 2569 ตามแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย งบจากกรมทางหลวง ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง1045 วังสีสูบ-เขื่อนสิริกิติ์, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 น้ำปาด-นาไพ, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1163 ร่วมจิต-น้ำพร้า, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 นาไพร-ม่วงเจ็ดต้น, ก่อสร้างสะพานและรางระบายน้ำ เส้นทางหลวง 1268 นาเจริญ-ปางไฮ, งบพัฒนาจังหวัด ก่อสร้างไหล่ทาง เส้นทางหลวง 1045 เขื่อนสิริกิติ์-ห้วยหูด, ก่อสร้าง 4 ช่องจราจร เส้นทางหลวง 117  น้ำปาด-นาไพร, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลวง 117 วังผาชัน-น้ำปาด, ก่อสร้างขยายไหล่ทาง เส้นทางหลง 117 น้ำปาด-นาไพร (ช่วง1) และช่วง2),  ก่อสร้างสะพานทางหลวง 1266นาเจริญ-ปางไฮ,

สำหรับความเป็นมาของโครงการ ก่อสร้างทางแนวใหม่สายเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ สืบเนื่องจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่างที่มีจุดผ่านแดนภาวรภูดู่ อำเภอบ้านโคกเชื่อมต่อกับเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทำให้มีการขยายตัวทางด้านการค้าและธุรกิจบริการ ความต้องการเดินทางเพิ่มขึ้น รวมถึงมีนโยบายในการผลักดันให้จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ เป็นประตูการค้าสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมทางหลวงจึงมีแนวคิดในการพัฒนาก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง และรองรับปริมาณจราจรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยก่อสร้างทางแนวใหม่เพื่อเลี่ยงการเดินทางผ่านตัวเมืองอุตรดิตถ์ ระยะทางรวม 72.630 กิโลเมตร ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและคัดเลือกแนวเส้นทางเบื้องต้นแล้วเสร็จ จะเสนอของบประมาณออกแบบรายละเอียด พร้อมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA (ด้านตะวันออก) ต่อไป

ทั้งนี้ ความเป็นมาของโครงการสะพานปากนายข้ามเขื่อนสิริกิติ์ ปัจจุบันการเดินทางเชื่อมโยงระหว่าง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์และอำนาหมื่น จังหวัดน่าน ในช่วงที่ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ จะต้องเดินทางด้วยแพขนานยนต์ มีแนวโน้มปริมาณการจราจรเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง กรมทางหลวง ทางกรมทางหลวงจึงมีแนวคิดในการก่อสร้างเส้นทางแนวใหม่และสะพานเพื่อข้ามเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อช่วยให้การเดินทาง การขนส่งสินค้า มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยกรมทางหลวงได้จัดแผนงานรองรับโครงข่ายทางหลวงสาย 1339 พื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จะต้อง ด้านปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากจังหวัดน่าน ควรปรับปรุงยกระดับเป็นทางหลวงมาตรฐานทางชั้น 1 ขนาด 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.5 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 2.5

เมตร และเมื่อต่อเนื่องมาจนถึง อ. น้ำปาด จะมีพื้นที่เป็นชุมชนเก่าขนาดใหญ่ ถนนภายในชุมชนมีขนาดเล็ก ไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจร และรถบรรทุกใหญ่ได้ ทางเลี่ยงเมืองน้ำปาดตัดใหม่ จึงมีแนวทางที่ควรก่อสร้างเพื่อแก้ปัญหาสร้างความสมบูรณ์ให้โครงข่ายทางหลวง เพื่อรองรับการพัฒนาและสร้างความเจริญให้กับพื้นที่อำเภอน้ำปาดในอนาคต ให้เป็นศูนย์กลางตอนบนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน แนวเส้นทางหลวงสาย 117 เข้าสู่ด่านพรมแดนภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีแผนพัฒนาเส้นทาง แผนงาน1 จ้างวิกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางเลี่ยงเมืองน้ำปาด (เชื่อมทางหลวงหมายเลข 117 และทางหลวงหมายเลข 1339) พร้อมของบประมาณปี 2569, แผนงาน2 จ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 1339  อำเภอน้ำปาด – บ้านปากนาย พร้อมเสนอของบประมาณปี 2569 เช่นกัน ความก้าวหน้าของโครงการปัจจุบัน กรมทางหลวงได้เข้าลงสำรวจพื้นที่ทรัพยากรสัตว์ป่าฯ ในอุทยานแห่งชาติ แล้วเสร็จทั้ง 6 ครั้งจัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 สำหรับงบประมาณค่าก่อสร้าง 1,750 ล้านบาท คาดการณ์สามารถเปิดใช้บริการในปี พ.ศ. 2573

นางสาวกฤษณา  กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการใหญ่ พบมีปัญหาเรื่องการขออนุญาตกับทางป่าไม้ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส.ได้พยามติดตามมาหลายครั้งและงบประมาณก็มีอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องติดตามดูอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนายวารุจ  ศิริวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต2 และนายวรี  เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 ได้ติดตามในเรื่องนี้อยู่ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเส้นทางภูดู่ที่จะทะลุเข้าไปยังพื้นที่ประเทศลาว ไปถึงเมืองเวียงจันท์ได้อย่างสะดวก ส่วนตนเองไม่ได้เดินทางไปร่วมติดตามในพื้นที่

นางสาวกฤษณา  กล่าวว่า หากการก่อสร้างถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถใช้เป็นเส้นทางลัด หลายๆเส้นทางที่เขาใช้กันอยู่ โอกาสมีมากถ้าความสะดวกของตรงนี้ตัดเข้าพื้นที่ประเทศลาวไป ส่วนที่ไปใช้ด่านอื่น ด่านห้วยโกร๋นจะวนกลับมาใช้เส้นทางเศรษฐกิจนี้ จะมาผ่านที่จังหวัดอุตรดิตถ์ของเรานอกจากเส้นทางคมนาคมก็เป็นเส้นทางขนถ่ายสินค้าเพิ่มความสามารถกระตุ้นทางเศรษฐกิจ มีเส้นทางก่อสร้างสะพานปากนาย-เขื่อนสิริกิติ์ ที่จะข้ามไปยังพื้นที่ปากนาย ใช้งบกว่า 1,700 กว่าล้าน ซึ่งทางอุตรดิตถ์เองก็อยากได้ ทางจังหวัดน่านก็อยากได้ เป็นการย่นระยะทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปจังหวัดน่านได้อย่างสะดวก การคมนาคมเส้นนี้ เป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดน่าน มีจุดชมวิวที่สวยงามที่สุด หลังได้ดูจากภาพที่เจ้าหน้าที่แขวงการทางอุตรดิตถ์ได้แสดงให้เห็น ตรงนี้จะมี 2 โครงการ

นางสาวกฤษณา กล่าวด้วยว่า สำหรับพื้นที่เขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ บริเวณสี่แยกทุ่งกะโล่และมูลนิธิอุตรดิตถ์สงเคราะห์ จุดนี้จะเป็นเส้นทางเข้าเมืองอุตรดิตถ์ นักท่องเที่ยวจะขับรถผ่านไปทางเหนือเลย แต่ถ้าเราทำจุดทางเข้าเมืองให้มีความโดดเด่นและน่าเข้า จะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้แวะและไม่ผ่านเลยไป ในส่วนของกรรมาธิการเข้ามาดูประสิทธิภาพในการทำงานด้วย พร้อมดูโครงการใหญ่ๆตรงนี้ดี ตรงนี้ไม่ดี แล้วก็ติดตามงบประมาณให้ให้เข้ามาสู่พื้นที่ด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองเล็ก สัดส่วนที่ได้มันน้อยอยู่แล้ว แต่ว่าเราต้องพยายามกระตุ้นและบอกตัวเองให้ชัดเจนว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ต้องการพัฒนาอะไรแล้วก็นำเสน

“ อยากจะเรียนว่า ในฐานะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของคนอุตรดิตถ์ จะพยายามศึกษาภาพรวมแล้วก็ดูทุกอย่างให้ดีที่สุด โดยเน้นเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้การจับจ่ายใช้สอยเข้าสู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งงบประมาณที่สำคัญๆที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ้าเศรษฐกิจดีการทำมาค้าขายดีทุกอย่างราบรื่นทั้งในเรื่องเกษตรกรรมด้วย เรามีหน้าที่เร่งรัดติดตามและมีวิธีการต่างๆยื่นเรื่อง เข้ากรรมาธิการ พร้อมประสานตามหน่วยงานต่างๆทำได้ทั้งนั้น ขอให้เข้าใจหลัก เข้าใจประเด็น และผลักดันไปในสิ่งที่ถูกต้อง” นางสาวกฤษณา กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ กล่าวทิ้งท้าย

นายชาโณ พยงค์ศรี แขวงการทางอุตรดิตถ์ที่2 กล่าวว่า  ถนนสายอุตรดิตถ์เชื่อมไปยังภูดู่ ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปในส่วนของที่ไม่เกี่ยวกับตัวจุดผ่านแดนมีความคืบหน้าผ่านไปพอสมควร ทั้งในส่วนของงบประมาณที่เราได้รับในปี 2568 ของกรมทางหลวงเอ และงบของกลุ่มจังหวัด แล้ว งบพัฒนาจังหวัดได้นำมาลงเพื่อพัฒนาให้กับพื้นที่ ในปี 2568  แขวงการทางอุตรดิตถ์ ที่2 จะได้รับงบประมาณก่อสร้างสาย 117 จากช่วงอำเภอน้ำปาดไปตำบลสองห้องระยะทางกว่า 23 กิโลเมตรช่วงนี้เราจะขยายเป็นถนน 7 อนน 12 หมายถึง มีช่องจราจรกว้าง 7 เมตร มีไหล่ทางกว้างด้านละ 2.5 เมตร ตรงนี้ก็จะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถได้รับความสะดวกและปลอดภัย ในการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของจุดผ่านแดนภูดู่ตรงนี้จะมีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในช่วงการศึกษาการออกแบบ ตัวนี้เราใช้การจ้างวิศวกรที่ปรึกษาเป็นบริษัทอยู่ระหว่างออกแบบ จุดตรงนี้จะมีอุปสรรคอยู่นิดนึงในการออกแบบ จะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีการเข้าไปใช้ในพื้นที่เขตป่าไม้และเขตอุทยาน

นายชาโณ กล่าวว่า ตอนนี้ ทางกรมอุทยานได้อนุญาตเข้าไปทำการศึกษาพื้นที่เขตอุทยานแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ก็คือ รอการอนุมัติจากกรมป่าไม้ ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมประมาณ 3-4 รายการจากกรมทางหลวง เสร็จขั้นตอนนี้ทางกรมทางหลวงจะสามารถให้ทีมวิศวกรและที่ปรึกษา เข้าไปทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ภายในปี 2568  เมื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางส่วนนี้ได้แล้ว สามารถปิดโครงการได้เร็วสุดก็ภายในปี 2568 พร้อมส่งเข้าไปที่คณะกรรมการของสำนักแผนและนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ น่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับความพร้อมเอกสาร หากผ่านอนุมัติเรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในงบประมาณปี 70 ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จะเปิดใช้งานได้ประมาณปี 2573

” ถนนสายเส้นนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจค่อนข้างมากคือ ถนนเส้น 117 รวมไปถึงจุดผ่านแดนภูดู่อยู่ในแผนพัฒนาระบบคมนาคม และส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเรียกเส้นทางนี้ว่า limec Northern Economic Corridor ระเบียงเศรษฐกิจการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศไทย พม่าและสปป.ลาว กับพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง วิ่งผ่านถนนหมายเลข 12 จังหวัดตาก ยาวมาถึงจังหวัดสุโขทัย ผ่านเข้าพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และผ่านยังถนนสาย 117 จนถึงจุดผ่านแดนภูดู่ เป็นจุดเชื่อมต่อประเทศพม่าและ สปป.ลาว จุดผ่านแดนภูดู่มีข้อได้เปรียคือ เมื่อเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวร การค้าชายแดน สามารถใช้จุดนี้ด้านการขนส่งสินค้า ระยะทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปภูดู่เป็นเส้นทางราบ ไม่มีภูเขาหรือมีก็น้อยมาก ถนนหากได้รับการขยายตามแผนงานที่ได้วางโครงการเอาไว้ทั้งหมด รถขนส่งสินค้าจะสามารถวิ่งผ่านจุดนี้ได้สะดวก จุดเด่นที่สำคัญจุดหนึ่งคือ ระยะทางจังหวัดอุตรดิตถ์ไปยังจุดผ่านแดนภูดู่ เข้าไปยังพื้นที่ประเทศลาว จนถึงเมืองเวียงจันท์ นครหลวงประเทศลาว ใช้ยะทางประมาณกว่า 300 กิโลเมตร เป็นการช่วยย่นระยะทางการวิ่งไปยังจังหวัดหนองคาย เพื่อเข้าทางเวียงจันท์” นายชาโณ กล่าว

ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่2 กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงให้กับทางคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้รับทราบแล้ว ประโยชน์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์จะได้รับทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมถึงเป็นการเพิ่มศํกยภาพให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย ที่ผ่านมาจังหวัดอุตรดิตถ์ถูกมองเป็นเพียงแค่เมืองทางผ่าน ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เสริมศักยภาพทางชายแดนภูดู่  ทั้งนี้ยังมีโครงการที่สำคัญ สะพานปากนายข้ามเขื่อนสิริกิติ์เชื่อมกับจังหวัดน่าน โครงการเด่นเหล่านี้เกิดขึ้นมา จะทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านเศณษฐกิจและด้านหารท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมาจากเดิมยิ่งขึ้น

ตอนนี้ถนนสาย 117 มีการก่อสร้างอยู่เรื่อยๆเนื่องจากเป็นถนนสายที่ยาวมาก มีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร จังหัดอุตรดิตถ์จำเป็นจะต้องขยายถนนเส้นนี้ งบประมาณที่ได้มาจะไม่เป็นก้อนใหญ่ ปี 2568 จะได้มาประมาณ 650 ล้าน ขยายระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ส่วนในปีที่ผ่านมาเราได้งบจังหวัดและงบพัฒนากลุ่มจังหวัด 20-50 ล้าน ค่อยๆทยอยทำได้ทีละ 1- 2 กิโลเมตร มีการก่อสร้างเป็นระยะคนละช่วงกัน อาจจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความสะดวกในการสัญจรแต่ทางกรมทางหลวงก็จะพยายามดูแลเรื่องความปลอดภัยในระหว่างก่อสร้างพร้อมเร่งรัดในการดำเนินงานให้เร็วที่สุด จุดไหนเสร็จจุดนั้นก็จะเป็นช่วงที่ประชาชนได้ใช้สัญจรสะดวกยิ่งขึ้น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่2 กล่าว

นายไชยสิริ คงพิม ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่1 กล่าวว่า  แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่1 ขอขอบคุณ คณะกรรมาธิการฯ ที่ได้แวะมาเยี่ยมเยียนพร้อมติดตามการใช้งบประมาณของแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่1 ถึงความคืบหน้าพร้อมรับฟังปัญหาที่จะเกิดกับทางหลวง สำหรับงานแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ยินดีพร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการฯ ให้โอกาสแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่1  ในปี 2568 ได้จัดสรรงบประมาณจากสำนักบริหารบำรุงทางหรือจากกรมทางหลวงของเรา โดยสำนักแผนงาน จำนวน 3 แผนงาน จะเริ่มก่อสร้างหลังจากตุลาคม 2568 เป็นต้นไป เพราะต้องรองบประมาณ ส่วนหนึ่งเรางบประมาณส่วนที่ 2 ก็คือรอประกวดราคาผู้รับจ้างต่อไปส่วนสำนักบริหารบำรุงทางได้รับการสนับสนุนยู่ที่ประมาณ 13 แผนงาน เป็นโครงงานซ่อมแซมบำรุงโดยเฉพาะทางหลวงหมายเลข 11 บางจุดที่จะต้องแก้ไข บางจุดที่เป็นปัญหาเรื่องเรื้อรังมานานเช่น เป็นหลุมเป็นบ่อ ที่เราเคยซ่อม ส่วนใหญ่สำนักบริหารบำรุงทางจะให้ค่างานกับปริมาณงานในส่วนของการชำรุดเสียหายหรืออายุการใช้งานที่มีมานาน ส่วนสำนักอำนวยความปลอดภัยจะได้มาทั้งหมด 13 แผนงาน มีเพิ่มเติมเล็กน้อย เป็นการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างทางหลวงหมายเลข 11  ที่ได้รับงบเพิ่มขึ้นมา  รวมก็งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด 300 กว่าล้านบาท จะต้องมาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อให้ครอบคลุมในส่วนของแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1

นายไชยสิริ กล่าวว่า ในส่วนของทางหลวงหมายเลข 11 จุดหลักกิโลเมตรที่ 313 ถึง 314 แผนงานส่วนใหญ่ตัวนี้ เกิดจากการขอเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางดังกล่าว เกิดน้ำจะท่วมบ่อยปัญหาที่พบก็คือ น้ำไหลผ่านไหลผ่านไซฟ่อนของชลประทานออกมาน้ำท่วมทางทำให้การจราจรลำบาก ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ แนะนำว่าขอสนับสนุนงบจากกลาง ทางแขวงได้เสนอส่งแผนงานเข้าไปแล้วโดยใช้งบประมาณยกระดับทำทางขึ้นพร้อมกับการก่อสร้างท่อระบายน้ำเพิ่ม จะใช้งบประมาณ 47 ล้านบาท ปัจจุบันปริมาณจราจรหลายๆสายมีเพิ่มมากขึ้น แขวงทางหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่1 อยากพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ให้เกิดความสวยงามรู้ว่าเข้าเขตเมืองอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะทางหลวงหมายเลข 11 ตั้งแต่แยกบึงหลักถึงแยกจากขนุน ได้มีการเสนอของงบประมาณในการขยายเป็น 6 ช่องจราจรส่วนหนึ่งตอนนี้เสนอเข้าสำนักงานแผนไปแล้วในเบื้องต้น ส่วนที่ 2 ขยายถนนแถวบริเวณหน้าศิลาอาสน์ ปรับปรุงขยายเป็น 6 ช่องจราจรไป 3 กับ 3 เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่ออกมาจากซอยต่างๆได้ ทางแขวงพยายามจะแก้ไขปัญหาณจุดนี้เพราะว่า บริเวณนี้มีร่องระบายน้ำอยู่ข้างทาง พอรถออกมาปุ๊บจะเกิดอุบัติเหตุบ่อย หลักๆคิดไว้ว่าน่าจะได้รับงบประมาณบางส่วนก็คงปีนี้

” คณะกรรมการฯ ที่มาตรวจเยี่ยมณวันนั้นได้แนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับแขวงทางหลวง ในการพัฒนาให้มุ่งพัฒนาของพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์หลายๆพื้นที่ เช่น เส้นทางไปภูดู่ เส้นอุตรดิตถ์-สุโขทัยโดยเฉพาะเส้นเข้ามาในพื้นที่ตำบลทุ่งยั้ง ได้เตรียมขยายเป็น 4 ช่องจราจร ซึ่งได้เข้าแผนเอาไว้แล้วตั้งแต่หน้าวัดพระแท่น เข้าไปทางเส้นทางอำเภอลับแล เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์ และช่วยด้านความปลอดภัย บางที่บางจุดส่วนราชการได้มีการขยายไปแยกไปอยู่ในหลายพื้นที่ของเขตนี้ ทางแขวงได้พยายามจะส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น

สำหรับด้านปัญหาอุปสรรคการสัญจรจะมีทางหลวงหมายเลข 11 ช่วงขาขึ้นมีปัญหาสภาพผิวถนนปัจจุบันเป็นผิวลาดยาง เกิดการลื่นไถลบ่อย สมัยก่อนเมื่อ 30 ปี ทางลงขารถจะลงถนนบ่อยหรือเกิดอุบัติเหตุบ่อย ทางแขวงได้เสนอขอทำเป็นผิวคอนกรีต ปัจจุบันด้านความปลอดภัยดีขึ้นแล้ว รถที่ผ่านมาสถิติแทบจะไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นด้านขาลง เพราะฉะนั้นส่วนที่เกิดด้านขาขึ้น ขอขอฝากคณะกรรมการฯสภาผู้แทนราษฎร ทางแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ ที่1 อยากจะพัฒนาเส้นขึ้นเขาพลึง อุตรดิตถ์-เด่นชัย เพื่อลดอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยง ให้มากขึ้นด้วยการเปลี่ยนผิวราดยางเป็นผิวคอนกรีต ตั้งแต่ทางขึ้นเขาพลึงไปจนสุดเส้นทางบนเขาพลึงพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์”  ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่1 กล่าว.

Facebook Comments Box

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า