Getting your Trinity Audio player ready...

นายกอบจ.อุตรดิตถ์ เปิดเสวนาพัฒนาแก้มลิงบึงมาย เนื้อที่กว่า 6,000 ไร่ กักเก็บน้ำใช้หน้าแล้ง ให้เกษตรกร 2 อำเภอ 4 ตำบล เพิ่มศักยภาพหลายมิติต่อชุมชนโดยรอบเพื่อทำการเกษตร แหล่งอนุรักษ์รักษาพันธุ์สัตว์ พืชน้ำธรรมชาติ คลังอาหารธรรมชาติ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและเติมน้ำใต้ดินสร้างอาชีพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การแข่งเรือ ลอยกระทง สร้างเกาะ4 จุด 4 ตำบล สร้างถนนพร้อมระบบไฟฟ้า ระยะยาวให้มีโครงการขุดลอกคลอง แนวคันคลองและเขตบึง เพื่อทราบแนวเขตที่ชัดเจน ให้ผู้นำท้องถิ่นสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้าใจกับชาวบ้าน วางแผนจัดการที่ดินตาม นสล.สภาพความจริงเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ชาวบ้านต้องจัดตั้งองค์กรช่วยบริหารจัดการน้ำยามหน้าแล้ง จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จดทะเบียนกลุ่มผู้ใช้น้ำ โครงการท้องถิ่นกับรัฐต้องไม่ทับซ้อนกัน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ห้องประชุม ชั้น2 อบต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายชัยศิริ  ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)อุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา การพัฒนาแก้มลิงบึงมาย ก่อสร้างระบบชลประทานคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา เขื่อนผาจุก กลุ่มที่4 พื้นที่ อบต.ไผ่ล้อม, อบต.ด่านแม่คำมัน, ทต.พระเสด็จ, ทต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อบต.ข่อยสูง อ.ตรอน นายคำนวณ  เหมาะประสิทธิ์ อดีต สว.อุตรดิตถ์ ผู้ริเริ่มผลักดันให้โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์ เกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึง ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน (เขื่อนทดน้ำผาจุก) เกรียงศักดิ์ อินมา ผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อุตรดิตถ์ เขต3 (นายรวี เล็กอุทัย) นายศิวัช  ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล นายเวช  อ่อนวงษ์ นายก อบต.ด่านแม่คำมัน และ นายบังเอิญ  เพ็งเปลี่ยน  สมาชิกสภา อบจ.​อุตรดิตถ์ เขต อ.ลับแล ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมรับฟังการเสวนา มีตัวแทนจากผู้แทนสำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานป้อง กันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นายอำเภอ ตรอน อบต.ไผ่ล้อม ทต.พระเสด็จ ทต.ทุ่งยั้ง ทีมงาน อบต.ข่อยสูง เข้าร่วมประชุมและรับฟังการเสวนาครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่3 โครง​การชลประทานอุตรดิตถ์และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนทดน้ำผาจุก เข้าร่วมบันทึกข้อมูลการเสวนาและพร้อมชี้แจงต่อที่ประชุมกรณีที่ผู้ร่วมประชุมมีข้อสงสัยและมีข้อซักถามที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม

นายสมอาจ  แก้วคต นายก อบต.ไผ่ล้อม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนา พร้อมแจ้งวาระการประชุมดังนี้ วาระที่1 ถอดบทเรียนการพัฒนาแก้มลิงบึงมายและการบริหารจัดการน้ำ ผู้แทนคณะทำงานพัฒนาและบริหารจัดการน้ำบึงมาย ผู้แทน ต.ไผ่ล้อม,ต.ทุ่งยั้ง,ต.ด่านแม่คำมัน, ต.ช่อยสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นร่วมกับชาวบ้านผู้แทนโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ โครงการส่งน้ำฯผาจุก สำนักก่อสร้างขนาดใหญ่ที่3 ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดให้รับทราบ

วาระที่2 สรุปความคืบหน้า เตรียมความพร้อม รับฟังปัญหา การก่อสร้างระบบชลประทานคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาเขื่อนผาจุก คลองส่งน้ำสายซอย คลองระบาย พร้อมอาคารประกอบ ผู้แทนเครือ ข่ายชุมชน ต.ไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง ต.ด่านแม่คำมัน ต.ข่อยสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นร่วมกับชาวบ้าน ผู้แทนโครงการชลประทานอุตรดิตถ์ โครงการส่งน้ำฯผาจุก สำนักก่อสร้างขนาดใหญ่ที่3 ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดให้รับทราบ

ว่าที่ร้อยตรี สมชาย  จันทร์เส็ง รองนายก อบต.ข่อยสูง เลขานุการเครือข่ายชุมชนคอลงส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาเขื่อนผาจุก กล่าวรายงานว่า วาระที่1  ข้อมูลเบื้องต้นแก้มลิงบึงมาย โดย คณะทำงานพัฒนาและบริหารจัดการน้ำแก้มลิงบึงมาย ข้อเท็จจริงความเป็นมาการพัฒนาแก้มลิงบึงมาย 1.บึงมายเป็นที่สาธารณประโยชน์แหล่งน้ำขนาดใหญ่มีพื้นที่ครอบคลุม 4 ตำบลคือ ต.ไผ่ล้อม,ต.ด่านแม่คำมัน, ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล และ ต.ข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ทางราชการประกาศให้พื้นที่บึงมายเป็นที่สาธารณประโยชน์โดยรับหนังสือรับรองออกในปี พ.ศ.2522 มีเนื้อที่ 6,802 ไร่ อยู่ในถนนรอบบึง 11 กม.เศษประมาณ 4,500-4,800 ไร่ จึงมีที่สาธารณประโยชน์อยู่รอบถนนอีกประมาณ 2,000-2,300 ไร่ ซึ่งทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตไว้แล้ว มีการพัฒนาบึงมายระยะที่1 ตั้งแต่ปี 2537- 2549 โดยกรมชลประทาน ปี 2537 ขุดคลองรอบบึงมาย ก้นคลองกว้าง 7.50 ม. ยาว 11.50 กม. และได้กันพื้นที่บึงมายเอาไว้ได้ประมาณ 4,500ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66 นอกแนวคลองมีปัญหาการบุกรุก คลองที่ขุดเก็บน้ำได้ 1300,00 ลูกบาศก์เมตร, ในปี 2538-2539  ขุดลอกคลองรอบนอกบึง คลองช้าง คลองพระสวัสดิ์ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่บึง รวมทั้งระบายน้ำส่วนที่เหลือลงสู่แม่น้ำน่าน สามารถลดจำนวนพื้นที่เกิดน้ำท่วมได้, ปี 2545 ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ภายในแนวคลอง เพื่อขุดลอกทั้งบึงโดยสร้าง มาสเตอร์แพลนร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่นและผู้นำชุมชน กำหนดพื้นที่การขุดลอก 2,250 ไร่ เพื่อกันเป็นที่ทิ้งดิน 2,250 ไร่,  ปี 2549 ได้รับงบประมาณจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำการขุดลอกด้านทิศเหนือบึงมาย ในเขตตำบลทุ่งยั้งและตำบลด่านแม่คำมันประมาณ 80 ไร่ เพิ่มการกักเก็บน้ำได้ 320000 ลูกบาศก์เมตร มีลึกเฉลี่ย 2.50 เมตร

การพัฒนาบึงมายระยะที่2 ตั้งแต่ปี 2553-2559 เพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำประมาณ 7.2 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมมีปริมาณน้ำกักเก็บ 10.8 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทานดังนี้ ปี 2552 กรมชล ประทานร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองพร้อมอำเภอลับแล ร่วมขุดลอกพื้นที่ประ​มาณ 570 ไร่,  ปี 2553 กรมชลประทานขุดลอก 860 ไร่ พร้อมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 3 แห่ง บูรณถนนรอบบึง,    ปี 2554 – 2559 มีการขุดลอกของกรมชลประทานและหน่วยงานอื่น

การพัฒนาแก้มลิงบึงมายระยะที่3 ปี 2560-2563 โดยกรมชลประทาน ปี 61-62 โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก มีการขุดลอกรอบบึงมายกว้าง 100 เมตร ลึก 3 เมตร เพื่อให้น้ำไหลเวียนได้โดยรอบ พร้อมขุดเชื่อมโยงกับบ่อน้ำของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีการขุดลอกเอาไว้แล้ว เป็นการเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร, ปี 61-62 มีการปรับปรุงประตูน้ำเดิมและสร้างขึ้นใหม่รวม 13 ประตู มีสะพานเดินรถ 2 แห่ง, ปี 61-62 สร้างถนนดินลูกรังบดอัดผิวกว้าง 10 เมตร รอบบึงยาว 11.50  กม., ปี 63 มีการขุดลอกโดยโครงการชลประทานจังหวัดอุตรดิตถ์ นำดินไปทิ้งที่สาธารณประโยชน์ด้านนอกถนนรอบบึงเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ, ปี 63 ดำเนินการขุดลอกโดยโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งต่อเนื่องอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ นำดินไปทิ้งที่สาธารณประ โยชน์ด้านนอกถนนรอบบึงเป็นการเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ, ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีการขุดลอกตามแผนงานของโครงการชลประทานอย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมมีการสรุปข้อเสนอจากคณะทำงานฯแต่ละตำบลเมื่อปี 2564 ว่านายอำเภอลับแลเสนอให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและบริหารจัดการน้ำแก้มลิงบึงมายปี 2562 และได้มีการประชุมและขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกับทุกภาคส่วนสรุป 1.ปัจจุบันแก้มลิงบึงมีศักยภาพกักเก็บอยู่ประมาณ 11-13  ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ประชุมมีแนวทางพัฒนาให้สามารถกักเก็บให้ได้มากกว่า 20 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกำหนดแนวทางขุดลอก/ยกระดับคันคลองด้านนอกของบึงมายทั้ง 4 ตำบลให้มีระดับคันคลองมาตรฐานเท่ากับระดับ ถนนริมบึงมายพร้อมมีประตูน้ำหรือช่องทางน้ำเข้าออกแปลงเกษตรกรรม, ดำเนินการก่อสร้างหรือซ่อมแซมให้ประตูน้ำรอบบึงให้สูงขึ้นสามารถยกระดับเก็บน้ำได้มากขึ้น (การปรับปรุงประตูระบายน้ำบึงมาย 3 จุด  ( ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลข่อยสูงและตำบลไผ่ล้อม, ขอให้มีการขุดลอกนำดินออกจากบึงให้มากที่สุด (ยกเว้นที่ทิ้งดินซึ่งกำหนดในมาสเตอร์แพลน)โดยทิ้งดินในเขตบึงมายที่อยู่นอกถนนพื้นที่บึงมาย(มีการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้นำชุมชน/ผู้ถือครองที่ดิน/มีการดำเนินการแล้วบางส่วนได้รับการตอบรับที่ดีจากเกษตรกร)และนำไปก่อสร้างคลองส่งน้ำสายซอยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต/นำไปถมที่ดินสาธารณประโยชน์หรือหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมาย, ขอให้มีการขุดลอกพื้นที่บึงมายฝั่งตำบลทุ่งยั้ง ซึ่งมีความตื้นเขินกว่าด้านใต้ (ตำบลไผ่ล้อม,ต.ด่านแม่คำมัน) ทำให้เมื่อระดับน้ำลดลงพื้นที่บึงมายด้านตำบลทุ่งยั้งแห้งขอดเกษตรกรไม่สามารถใช้น้ำในบึงได้

2.แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากซ้ำซาก พื้นที่รอบบึงมายเป็นจุดรับน้ำคลองด่านแม่คำมันจาก อ.ศรีสัชฯ คลองแม่พร่อง/ลำคลองย่อยจากพื้นที่ อ.ลับแลตอนบน/และพื้นที่จากอำเภอเมืองบางส่วน ฤดูน้ำหลากมีมวลน้ำหลากจำนวนมหาศาลทำให้ทุกปีน้ำท่วมซ้ำซาก จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาขอให้ปรับปรุงหรือสร้างประตูระบายน้ำขึ้นใหม่คลองพระสวัสดิ์ถนนปลายราง-วังโป่งเพิ่มเติมจาก 4 ช่อง ระบายเป็น 8 ช่องระบายด้วยงบประมาณอย่างเร่งด่วนเพื่อให้เพียงพอต่อการระบายน้ำ, ตามแผนการระบายน้ำโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุกมีการขุดลอกพระสวัสดิ์จาก กม. ๐ เริ่มจากคลองยม ตำบลน้ำขุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย เพื่อเร่งระบายน้ำลงคลองยมสู่แม่น้ำน่านได้เร็วขึ้น แต่การขุดลอกคลองยม โดยโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุกดำเนินการในพื้นที่ตำบลข่อยสูง ต.ด่านแม่คำมัน ให้มีการขุดลอกคลองพระสวัสดิ์ถึง กม.๐ คลองยมอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มช่องทางการระบายน้ำ(ขุดลอกคลองพระสวัสดิ์ –คลองยม กม. 0+000  ถึง กม. 3+000  หมู่ที่ 3 บ้านไผ่ลูกช้าง, การระบายน้ำคลองพระสวัสดิ์ปัจจุบันยังต้องผ่านประตูระบายน้ำบ้านวังแดงลงสู่คลองละมุงแต่ยังไม่มีการพัฒนาศักยภาพการระบายน้ำจึงเสนอให้มีขุดลอกคลองพระสวัสดิ์ ช่วงคลองพระสวัสดิ์ หมู่ที่ 3 บ้านไผ่ลูกช้างถึงประตูระบายน้ำวังแดง ต.วังแดง อ.ตรอน, ขอให้ท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานกรมชลประ ทานที่รับผิดชอบสำรวจอาคารบังคับน้ำ/อาคารระบายน้ำ/ทางข้ามต่างๆเพื่อปรับปรุงไม่ไห้เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ, ปัญหาน้ำท่วมบางครั้งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำคือ มีการกักเก็บน้ำในแก้มลิงบึงมายตั้งแต่ต้นฤดูฝน มิได้พร่องน้ำทำให้พื้นที่รับน้ำหลากลดลง เพิ่มความรุนแรงปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เสนอให้มีคณะทำงานฯ ต้องประสานงานกันอย่างจริงจัง ทันเหตุการณ์ เพื่อรองรับสถานการณ์

3.เนื่องจากบึงมายมีศักยภาพในหลากหลายมิติต่อชุมชนโดยรอบบึงมายมาตั้งแต่อดีตกาลและการทำนาของเกษตรกรมีการใช้น้ำบาดาล(น้ำใต้ดิน)จำนวนมาก เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์/พืชน้ำธรรมชาติ/ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการเติมน้ำใต้ดิน จึงมีข้อเสนอแนวทางทำงานร่วมกัน โดยขอให้กรมชลประทานกำหนดแบบการขุดสระลึกตำบลละอย่างน้อย 100 ไร่ เพื่อให้พื้นที่บึงมาย กลับมาเป็นคลังอาหารทางธรรมชาติของชุมชนต่อไปและออกข้อบัญญัติของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องประกาศเขตอนุรักษ์เข้มงวดและแต่ละท้องถิ่นมีแผนงานฟื้นฟู/อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนในพื้นที่ตำบลที่มีการขุดลอกแล้วคือ ตำบลด่านแม่คำมัน, การกำหนดขุดธนาคารน้ำใต้ดินตามหลักวิชาการที่ถูกต้องอย่างน้อย 30 จุดตามเพื่อให้น้ำในแก้มลิงบึงมายช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินให้แก่พื้นที่โดยรวม

4.แนวทางการพัฒนากิจกรรมชุมชน/อาชีพชาวบ้าน/และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอนาคต ด้วยการก่อสร้างทางเชื่อม เกาะกลางบึงมาย  4 จุด 4 ตำบล ( ตำบลด่านแม่คำมัน ,ตำบลข่อยสูง,ตำบลพระเสด็จ,ตำบลไผ่ล้อม ตำบลที่ดำเนินการแล้วคือ ตำบลด่านแม่คำมัน), การสร้างถนนที่มาตรฐานและระบบไฟฟ้ารอบบึงมายประสาน อบจ.อุตรดิตถ์, การค้นหาศักยภาพทรัพยากรท้องถิ่น/บุคคล โดยอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสร้างโอกาสอาชีพและรายได้, การสร้างกิจกรรมต่างๆ เช่น การแข่งเรือประเพณีลอยกระทงและกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อคนในตำบลและมีรายได้

5.แนวทางแก้ไขปัญหาบุกรุกการถือครองพื้นที่บึงมายระยะยาว ในระยะยาวขอให้มีโครงการขุดคลองและคันคลองตามแนวทางเขตบึงทั้ง 6,802 ไร่ เพื่อให้ทราบแนวเขตบึงมายที่ชัดเจน โดยผู้นำท้องถิ่นท้องที่พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้าใจ, ในระยะยาวขอให้มีการสร้างการมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจชุมชน ผู้ถือครองที่ดิน และเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่บึงมายรอบนอกถนนทั้งกว่าสองพันไร่ให้มีวางแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการที่ดินตามหนังสือที่ดินหลวง(นสล.)ให้สอด คล้องสภาพความจริง เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายและเป็นไปตามกฎหมาย

6.สภาพข้อเท็จจริงการใช้น้ำจากแก้มลิงบึงมายเพื่อการทำนาในพื้นที่ทั้ง ๔ ตำบลโดยรอบ มีมากกว่า 15,000 ไร่ และขาดองค์กรของชาวบ้านที่จะช่วยกันบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมทำให้ทุกฤดูแล้งน้ำในบึงมายแห้งขอดโดยสิ้นเชิง(ยกเว้นบ่อน้ำลึก ต.ด่านแม่คำมัน) มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ การฟื้นตัวของสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้มีแนวทางแนวทางการบริหารจัดการน้ำรอบบึงมายอย่างชัดเจน คณะทำงานจึงได้กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันดังนี้ 1.ให้คณะทำงานแต่ละตำบลการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนของเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากบึงมายให้ชัดเจน 2.ร่วมมือกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุกจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำบึงมายเพื่อกำหนดกติกาการทำงาน 3.จดทะเบียนกลุ่มผู้ใช้น้ำตามกฎหมายต่อไป (โดยให้ฝ่ายเลขานุการเครือข่ายร่วมกับฝ่ายจัดสรรน้ำฯโครงการส่งน้ำและบำรุงผาจุกร่วมชี้แจงความคืบหน้า)

7.ข้อเสนออื่นๆที่มีอยู่ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองพระสวัสดิ์ 3 จุด หมู่ที่ 1  บ้านข่อยสูง/ หมู่ที่ 2 บ้านแหลมทอง / หมู่ที่ 3 บ้านไผ่ลูกช้าง ตำบลข่อยสูง, โครงการก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม(BOX  CULVERT)ถนนเลียบคลองพระสวัสดิ์ จำนวน 2 จุด หมู่ที่ 1 บ้านข่อยสูง /หมู่ที่ 2 บ้านแหลมทอง  ตำบลข่อยสูง, โครงการขุดลอก/ปรับปรุงคลองพระสวัสดิ์ ช่วง กม. 12+600 ถึง กม. 15+100 ความยาว 2.5 กิโลเมตร พร้อมอาคารประตูระบายน้ำ แล้วนพื้นที่การการเกษตรและแปลง, ติดตามค่าเวนคืนที่ดินของเกษตรกร โครงการขุดลอกคลองพระสวัสดิ์ ฝั่งอำเภอลับแล, โครงการขุดลอกคลองเลียบคันถนนบึงมาย-คลองพระสวัสดิ์, โครงการก่อสร้างถนนลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต รอบบึงมาย ระยะทาง 11 กิโลเมตร, โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง โซล่าเซลล์ รอบบึงมา, โครงการก่อสร้างถนนลูกรังเชื่อมบึงมาย-คลองพระสวัสดิ์ตำบลข่อยสูง-ตำบลไผ่ล้อม

ทั้งนี้ วาระที่2 และวาระ3  สรุปความคืบหน้าเตรียมความพร้อมรับฟังปัญหา การก่อสร้างระบบชลประทานคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาฯ เขื่อนผาจุก คลองส่งน้ำสายซอย คลองระบายน้ำ อาคารประกอบอื่นๆ ในพื้นที่ ต.ไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง ต.ด่านแม่คำมัน ต.ข่อยสูง มีประเด็นพิจารณาร่วมกันเบื้องต้นดังนี้ 1.ตามแผนงานก่อสร้างคลองระบายน้ำเดิมยังยืนยันตามแผนงานเดิมทั้งหมดหรือไม่  เพราะมีปัญหาในการจัดทำโครงการฯ ของหน่วยอื่นและหน่วยงานท้องถิ่นเพราะเกรงการซับซ้อนในอนาคต 2.ปัญหาการออกแบบการระบายน้ำคลองแม่พร่อง(สะพานตาบู่)ซึ่งจากการแก้ไขแบบเป็นท่อเหลี่ยม 2 ช่อง ขนาด 2.4 เมตรซึ่งไม่เพียงพอรองรับน้ำหลากอย่างแน่นอน จะมีการแก้ไขอย่างไร 3.รายละเอียดความมาตรฐานและการสัญจรคันคลองระบายน้ำ จุดสะพานข้าม การมีส่วนร่วมชัดเจนมากน้อยเพียงใด 4.รายละเอียดการใช้น้ำจากคลองส่งน้ำสายซอย(จุดปล่อย)และจุดสะพานข้าม(การมีส่วนร่วมชัดเจนมากน้อยเพียงใด 5.การก่อสร้างคลองส่งน้ำซึ่งใช้แนวคลองส่งน้ำเดิมซึ่งชาวบ้านใช้ในการส่งน้ำเพื่อทำนา ในระหว่างการก่อสร้างมีแนวทางอย่างไรหรือไม่เพื่อให้สามารถส่งน้ำทำนาได้หรือแนวทางอื่นใดหรือไม่ 6.ทางสำนักก่อสร้างก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ ๓ มีความประสงค์ให้ทางชุมชนท้องถิ่น-ท้องที่ สนับสนุนการดำเนินการก่อสร้างอย่างไรบ้าง 7.รับฟังปัญหา-ข้อเสนอแนะ-แสวงหาแนวทางร่วมกัน.

Facebook Comments Box

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า