Getting your Trinity Audio player ready...
|
พ่อเมืองอุตรดิตถ์ ปิดภาคเรียนโครงการโรงเรียนพลเมืองบ้านเกาะ ประชาธิปไตยเสียงส่วนใหญ่“พวกมากลากไป ต้องมีเหตุมีผล” ลงมติโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือมีความผิด ต้องรู้จักปรับตัว ยกผึ้งกับแมลงวันมาเป็นตัวอย่าง ทางออกสู่แสงสว่าง แนะให้นำเทคโนโลยีบางอย่างใช้แทนคน ดึงผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ ลดป่วยติดเตียง ลดอัลไซเมอร์ “แก่ช้า ป่วยยาก ตายเร็ว”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานพิธีปิดภาคเรียน ภายใต้โครงการโรงเรียนพลเมืองบ้านเกาะ เทศบาลตำบลบ้านเกาะร่วมกับศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยนายพยงค์ ยาเภา ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วย นายธีรชัย ชวลิสกุลเดช นายเทศมนตรีตำบลบ้านเกาะ จัดทำโครงการโรงเรียนพลเมืองบ้านเกาะ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โดยจัดการเรียนการสอนทุกวันพุธ รวมทั้งหมด 15 สัปดาห์ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ้านเกาะ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อ.ส.ม. พร้อมประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการในการแก้ไข จัดการปัญหาและความต้องการของชุมชนตามหลักค่านิยม หลักการ รูปแบบและกระบวนการตามวิถีประชาธิปไตย และเพื่อนำเสนอนโยบายต่อสาธารณะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการเสริมสร้างให้ความรู้ ความเข้าใจในขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดทักษะการลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสำนึกความเป็นพลเมืองในการแก้ไขปัญหาของตนเองและชุมชน ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมตามระบบประชาธิปไตย นำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีต่อกันของชุมชนอย่างเข้มแข็ง
นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า เป็นอีกหนึ่งเวทีที่ทำให้คนบ้านเกาะได้เข้าใจในระบบประชาธิปไตยว่า จะต้องมีแนวทางอย่างไร ซึ่งจะต้องรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนใหญ่จะต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ “มีเหตุ มีผล” หรือพวกมากลากไป ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่าประชาธิปไตยคือ “เสียงส่วนใหญ่ว่ายังไงก็เอาตามนั้น”
เหมือนประชุมสภาเทศบาล ถ้ายกมือโหวตหรือลงมติ ให้กับโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการเอื้อประโยชน์ คนที่ยกมือหรือคนที่เสนอโครงการแล้วเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่พอสภาจะมีมติก็ต้องไม่เอา เพราะท่านไปลงมติโครงการที่ไม่ดีแล้วหรือเป็นการเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ท่านก็จะมีความผิด จะมาบอกว่าอ้าวเสียงส่วนใหญ่ยกมือให้ไม่ได้ เสียงส่วนใหญ่ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ต้องมีเหตุมีผลคือ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยไปอย่างถูกทาง เพราะส่วนใหญ่จะนึกว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่
นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ยกตัวอย่าง ในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกันในประชาคมของบ้านเกาะ นอกจากฟังเสียงส่วนใหญ่แล้ว มันก็ต้องมีการปรับตัวจะทำตัวเหมือนเดิมๆ ยึดถือเดิมๆก็ไม่ได้ เพราะโลกมันเปลี่ยน ผึ้งฉลาดขยันขันแข็ง ในการที่จะผสมเกสรดอกไม้ แมลงวันเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว ตอนแต่สิ่งสกปรก แต่ทำไมแมลงวันมีเยอะกว่าผึ้ง เพราะแมลงวันปรับตัวเก่ง
“ ผึ้งมีความเชื่อว่า ที่ใดมีแสงสว่างก็จะบินไปหาแสงสว่าง หากนำผึ้งใส่ขวดเข้าไป หันก้นขวดไปที่มีแสงสว่าง ปากขวดอยู่ในห้องที่มีความมืดหน่อย เมื่อนำผึ้งใส่เข้าไป ผึ้งก็จะบินหาก้นขวดที่มีแสงสว่าง ยังไงก็ไม่มีทางออก ก็จะไปเจอทางตัน ก็เหมือนกับการทำงานของประชาคมหรือหมู่บ้านเและเทศบาลเรา” เพราะมีความเชื่ออย่างเดียวว่าทางนี้คือทางถูกและไม่มีการปรับตัว ความเชื่อเดิมๆอาจจะผิดแล้วก็ได้ หรือความเชื่อเดิมๆอาจะถูก ว่าที่มีแสงสว่างคือทางออก แต่พอมีปัญหาอุปสรรคกันคือ “ก้นขวด” เรายึดถือความคิดเดิมก็จะเดินหน้าไปทางนั้นมันก็ถึงทางตันและไปไม่ได้ หากนำเอาแมลงวันเข้าไป แมลงวันบินไปบินมา หากออกไม่ได้ก็ต้องหมุนตัวเองไปมา สุดท้ายก็จะออกทางปากขวด สิ่งนี้คือความแตกต่างที่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยการไม่ปรับตัวเอง” นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวด้วยว่า หลักของประชาธิปไตยก็คล้ายกัน อันที่หนึ่งคือฟังเสียงส่วนใหญ่ใช่ แต่ก็ต้องฟังเสียงส่วนน้อยที่มีเหตุมีผล หากเทศบาลจะขุดลอกลำเหมือง ลำคลอง หนอง บึง ให้แก่ชุมชนจะขุดหน้าฝน ท่านว่าดีไหม? ขุดหน้าฝนผู้รับเหมามันโกงไปก็ไม่รู้ ความที่อยากให้ขุดลอกอย่างเดียว จะให้สภาจ่ายขาดเงินสะสมอย่างเดียวเพื่อขุดลอกโดยไม่ดูสถานการณ์ “ใช้ไม่ได้” สถานการณ์ที่เหมาะในการขุดลอก นั้นเป็นการทุรังให้สภาฯมีการจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 3 ล้านบาท พอมาทำหน้าฝนจริงในการขุดดินหมืนคิว แต่มาทำหน้าฝนมาขุดสองพันคิวก็ไม่รู้เรื่อง เพราะว่าหน้าน้ำมา พอขุดเสร็จแล้วถ่ายรูป ถ่ายรูปเสร็จส่งเบิก สิ่งนี้คือความที่ไม่ดูสถานการณ์
“การที่ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้ามาเป็นการให้องค์ความรู้ในหลายด้าน สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากไว้ ท่านต้องมีเหตุมีผลและมีการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ให้เทศบาลมีความเจริญก้าวหน้า มีหลายเรื่องที่เทคโนโลยีทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานก็ไม่ต้องใช้แรงงาน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็จะประหยัดงบประมาณ เหมือนกับที่นายกจะจ้างบุคคลมาทำหน้าที่สารบรรณ เงินเดือน 12,000 บาท เพื่อเป็นลูกจ้าง 1 ปี 144,000 บาท/ปี เวลาจ้างโดยสังคมไทย จะให้ออกก็ต่อเมื่อเกษียณที่จะออกได้ สมมุติอายุ 40 อีก 20 ปีเกษียณ คิดเป็นเงิน 2,880,000 บาท เป็นการเอามาเพื่อลงทะเบียนสารบรรณมันไม่คุ้มค่าเงิน เพราะเดี๋ยวนี้ซื้อโปรแกรมออฟฟิศเพียงแค่ 100,000 บาท ใช้ได้ยาวเพียงแค่คีข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ หากต้องการ ปริ้นงานเอกสารแค่กดดูแล้วปริ้นงานมาดูได้เลย
หากใช้เป็นคน แล้วคนนั้นไม่อยู่หาแฟ้มไม่เจอ หากคนอยู่ก็ต้องจำให้ได้ก่อนว่าเรื่องนี้ต้องการค้นหานั้นเขียนอยู่แฟ้มไหน ก็ต้องไปไล่ค้นหาใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงจะหาหนังสือเจอ หากใช้ระบบสารสนเทศใช้เวลา 5 นาทีก็ได้ข้อมูลมาแล้ว บางอย่างใช้เทคโนโลยีได้ บางอย่างก็ต้องใช้คน ต้องดูว่างานไหนที่ต้องใช้คนที่เราจะจ้างหรือกำหนดตำแหน่งงาน งานไหนที่ไม่จำเป็นแต่ใช้เทคโนโลยี เราจะได้นำงบประมาณปีละล้านหรือแสนนำไปทำอย่างอื่นเพื่อพัฒนาเทศบาลที่เกิดประโยชน์ สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องการให้ประชาชนหรือชาวบ้านหรือชุมชนของเรา เข้าใจหลักการของประชาธิปไตยเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ” ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าว
นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การมีผู้สูงอายุมากมีทั้งข้อดีและข้อด้อยในตัวเอง ข้อดีคือ ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ ผ่านร้อน ผ่านหนาว ศัพท์ทางราชการเรียกว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ให้ข้อคิดเห็นในตำบลพื้นที่ได้ “ถ้ารู้จักใช้” รู้จักดึงศักยภาพผู้สูงอายุนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเห็นได้ว่าทางเทศบาล ทางจังหวัดมักจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเชิญมาให้ข้อคิดเห็น
นายศิริวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ส่วนข้อกำจัด ผู้สูงอายุก็เหมือนเครื่องยนต์ใช้ไปนานๆก็จะเสื่อม แต่จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์นี้เสื่อมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งต้องมีกิจกรรมให้ดำเนินการหรือทำอย่างที่ได้นำมาแสดงในที่ประชุม เป็นการเชิญเข้ามามีส่วนร่วมในงานต่างๆ หากอยู่ที่บ้านเฉา เฉาแล้วก็จะป่วย ป่วยแล้วก็จะติดเตียง นี่คือวงจรผู้สูงอายุในประเทศไทย หนึ่งติดบ้านไม่ยอมออกไปไหนละ บ่นเจ็บแข้งเจ็บขากลัวเป็นภาระคนอื่นก็ไม่ออกไป พออยู่แต่บ้านแล้ววงจรชีวิต ตื่นมาแล้วก็กินแล้วก็นอน ซ้ำไปซ้ำมา ร่างกายก็ทรุดโทรม เป็นการเฉาเพราะอยู่ที่บ้านคนเดียว คุยคนเดียว คุยไปคุยมา ลูกหลานก็จะมองว่าเป็นบ้าหรือเปล่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ถ้าไม่ได้ใช้สมองก็จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อม สิ่งนี้คือข้อจำกัด จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมอยู่ตลอดที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมาช่วยเหลือสังคมได้ เพราะผู้สูงอายุมีเวลาว่างเยอะสามารถดึงมาช่วยทำกิจกรรมภายในเทศบาลได้หลากหลาย การออกกิจกรรมในงานด้วยการร่ายรำทำให้มีความสนุกสนานคึกครื้น
“สูตรผู้สูงอายุ “แก่ช้า ป่วยยาก ตายเร็ว” หนึ่งแก่ช้าคือ คนอายุ 60 เหมือนอายุ 50 สองป่วยยาก ผู้สูงอายุต้องไม่ป่วย หากป่วยเครื่องจะรวนหรือทรุด ผู้สูงอายุต้องป่วยให้ยาก สุดท้าย ตายเร็ว อย่าติดเตียง ถ้าป่วยปุ๊ปไปเลย ไม่ทรมารทั้งลูกหลานและตัวเอง ถ้าติดเตียงเมื่อไหร่จะเป็นภาระแก่ตัวเองและลูกหลาน ในยุคปัจจุบันลูกหลานไม่ค่อยอยู่บ้าน จะไปทำงานที่ต่างจังหวัด อยู่ติดเตียงที่บ้านคนเดียวจะทำอย่างไร ก็ต้องจ้างคนมาดูแล เทศบาลจึงมีส่วนช่วยในด้านนี้แต่ก็ไม่ใช่ทุกบ้านทุกหลังคาเรือน ดังนั้นผู้สูงอายุต้องทำร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงก่อน ฝากนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเกาะช่วยดูแลทำให้ผู้สูงอายุแก่ยาก สวยปริ๊งนานเป็นสาวสองพันปี ต้องป่วยยากสุขภาพต้องแข็งแรง หากตายก็ตายไปเลย ไม่ต้องทุกข์ทรมาร” ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวทิ้งท้าย.