Getting your Trinity Audio player ready...
|
“นายกแก้ว ทต.บ้านเกาะ ขอบคุณ รัฐมนตรีธรรมนัส 3 สส.อุตรดิตถ์ และ ผอ.ยิ้ม” ช่วยผลักดันโครงการปรับปรุงโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะ จำนวน 4 เครื่อง งบประมาณ 120 ล้านบาท ให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำทำนาปลูกข้าว 3 อำเภอ 8 ตำบล 2,191 ราย มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร บรรจุเข้าแผนแล้วปี 69 ร้องขอให้ช่วยติดตามเร็วขึ้น เนื่องจากเป็นปัญหาความเดือดร้อนมานานหลายปี
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นายณฐพล ชุ่มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จากกรณีที่ นายวารุจ ศิริวัฒน์ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ และนายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 เขต ได้ติดตามหาแนวทางช่วยผลักดันปรับปรุงโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 3 อำเภอ 8 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลบ้านเกาะ ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตำบลไผ่ล้อม ตำบลทุ่งยั้ง ตำบลพระเสด็จ ตำบลด่านแม่คำมัน อ.ลับแล ตำบลตำบลข่อยสูง ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน ให้แก่เกษตรกรผู้ใช้น้ำ จำนวน 2,191 ราย พื้นที่ทำการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานช่วงฤดูแล้ง 34,446 ไร่ ฤดูฝน 34,446 ไร่ รวมตลอดทั้งปี 68,888 ไร่ ด้วยงบประมาณ 120,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) โดยจะเริ่มโครงการในปี พ.ศ.2569 ระยะเวลาโครงการประมาณ 1 ปี ประโยชน์ที่เกษตรผู้ใช้น้ำจะได้รับนั้น เป็นการได้รับน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง อีกทั้งเป็นการป้องกันการเกิดภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงในเขตโครงการได้ด้วย เนื่องจากมีระบบส่งน้ำที่มีประสิทธิภาพ
นายณฐพล กล่าวว่า ช่วงนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการขอรับงบประมาณ ความคืบหน้ามีการออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชล ประทาน ออกแบบในเรื่องของโครงสร้างของอาคารที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงจากของเดิม และได้มีการอนุมัติแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบระบบเครื่องสูบน้ำ กำหนดคุณลักษณะเฉพาะและประมาณราคาเครื่องสูบน้ำของสำนักเครื่องจักรกล กรมชมชลประทาน อยู่ระหว่างการขอคุณสมบัติและขนาดเฉพาะเครื่องสูบน้ำเป็นระบบไฮดรอลิกปั้ม เมื่อได้แล้วจะนำมาประกอบประมาณการราคาเพื่อขอรับงบประมาณต่อไปเบื้องต้นจัดให้อยู่ในแผนปี 2569 หากมีความพร้อมมากกว่านี้ สามารถขยับขึ้นมาในปี 2568 ได้
นายณฐพล กล่าวด้วยว่า สำหรับความเป็นมาของโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะ ตั้งอยู่ที่ บ้านเกาะกลาง ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้าจากแม่น้ำน่าน ศักยภาพของเครื่องสูบน้ำ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง สูบน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกพื้นที่รับประโยชน์ 34,446 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ ตำบลวังกะพื้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบชอบของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่2 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก ระดับน้ำที่สามารถสูบน้ำได้อยู่ที่ +53,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางโดยการระบายของเขื่อนสิริกิติ์จะต้องอยู่ที่ 380 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (30 ล้านลูกบาศก์มิลลิเมตรวัน) ปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำใช้การอยู่ 6,357.444 ล้านลูกบาศก์เมตร (95.46%) แผนการระบายในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 8 – 14 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีการระบายเป็นช่วงเวลา ทำให้เขื่อนทดน้ำผาจกทำการทดน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนและระบายน้ำ เฉลี่ยอยู่ที่ 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน) เพื่อทำให้ระดับน้ำเหนือน้ำและท้ายน้ำไม่ขึ้นลงโดยเฉียยเฉียบพลัน ลดการกัดเซาะของตลิ่งริมแม่น้ำน่าน่าน และส่วนท้ายน้ำมีน้ำใช้อย่างต่อเนื่อง การเดินทางของน้ำจากเขื่อนทดน้ำผาจุก ถึงสถานีสูบน้ำใช้เวลาประมาณ 5-7 ชั่วโมง ระดับน้ำหน้าสถานีสูบน้า จะอยู่ที่ช่วง +52.500 ถึง +53.000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้ไม่สามารถทำการสูบน้ำได้
นายณฐพล กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก ได้ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานทำคันกั้นดินชั่วคราว และขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากสำนักเครื่องจักรกลติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำทอยอยกระดับน้ำให้สถถานีโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะสามารถสูบน้ำได้ ทำให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำต้องมีส่วนรับการะค่ากระแสไฟฟ้าถึงสองต่อ
“ ลักษณะโครงการ เป็นการซ่อมแชมและปรับปรุง เครื่องสูบน้ำเดิมให้สามารถใช้การได้ดี จำนวน 2 เครื่อง พร้อมเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำใหม่จากรูปแบบ Vertical Pump เป็น Hydraulic Pump จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งจะสามารถสูบน้ำในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ต่ำที่สุด (+51.400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางได้ ”
ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก กล่าวว่า ในระยะยาวยาว พื้นที่ที่รับน้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะจำนวน 34,444 ไร่ จะรับน้ำจากเชื่อนทดน้ำผาจุก ผ่านทางคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา (RMC) และอัตน้ำ เข้าคลองแยกซอย 1L-RMC ประมาณ กม.ที่ 33+000 กระจายน้ำเข้าคลองต่างๆ สามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ โดยในอนาคตสถานีสูบน้ำด้วยใฟฟ้าบ้านเกาะ จะมีความจำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเฉพาะในช่วงภาวะภัยแล้งแล้งหรือทิ้งช่วง ที่ทำให้ปริมาณน้ำในขื่อนสิริกิติ์กับเขื่อนทดน้ำผาจุกมีน้ำไม่พอเพียง ไม่สามา รถส่งน้ำให้กับพื้นที่ดังกล่าวได้เพียงท่านั้น โดยคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา (EMC), คลองแยก คลองซอยสาย 1L-PMC และคลองชอยในระบบบต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณปี พ.ศ. 2569 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 ปีแล้วเสร็จ
“ ช่วงนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการอยากขอให้ประชาชนอดทนอีกหน่อย เพราะการก่อสร้างอาจมีปัญหาบ้าง เมื่อเสร็จแล้วประชาชนในพื้นที่จะได้ใช้น้ำกันอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดแคลนอีกต่อไป โดยเฉพาะพื้นที่สถานีสูบน้ำบ้านเกาะ จะสามารถใช้น้ำได้ทั้ง 2 ระบบ ใช้จากคลองส่งน้ำเขื่อนทดน้ำผาจุกและสถานีสูบน้ำไฟฟ้าบ้านเกาะด้วย ทางสำนักงานโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก เรามีการสร้างความรับรู้และความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่ตลอดเวลาของทั้งโครงการส่งน้ำเขื่อทดน้ำผาจุกและโครงการก่อสร้างฯ มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปพบปะกับประชาชนตลอดเวลา” ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก กล่าวฃ
นายธีรชัย ชวลิตสกุลเดช นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเกาะ กล่าวว่า ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านทำการเกษตรพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ จากการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรหน้าแล้ง อีกทั้งยังได้รับการประสานงานจากนายกเทศบาลตำบลวังกะพี้และอีกหลายพื้นที่ในเขตอำเภอลับแลและอำเภอตรอน เรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเช่นเดียวกันกับพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ โดยร้องขอให้เทศบาลตำบลบ้านเกาะ ในฐานะเป็นแม่ข่าย อยู่ต้นน้ำพื้นที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีคลองส่งน้ำชลประทานพร้อมที่จะส่งน้ำจากต้นทางไปสู่ปลายทางของพื้นที่เกษตรกร 3 อำเภอ 8 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลบ้านเกาะ ตำบลวังกะพี้ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ตำบลไผ่ล้อม ตำบลทุ่งยั้ง ตำบลพระเสด็จ ตำบลด่านแม่คำมัน อ.ลับแล ตำบลข่อยสูง ตำบลหาดสองแคว อ.ตรอน จึงได้นำเรื่องปัญหาดังกล่าวแจ้งให้ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ นายวารุจ ศิริวัฒน์ และนายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายชลาวุธ บุญเกตุ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ รับทราบ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งการเกษตรให้กับชาวบ้านใน 3 อำเภอ 8 ตำบล แบบถาวรเนื่องจากจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ต้นน้ำ แต่มีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ด้วยการปรับปรุงโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะ ให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและไม่เดือดร้อนหรือขาดแคลนน้ำทำนา
นายธีรชัย กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการช่วยเหลือจากนายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ สนับสนุนเครื่องจักรกลพร้อมอุปกณ์ และทางกรมชลประทานจัดทำโป๊ะบิ๊กแบ๊กสูบน้ำช่วยเหลือให้เป็นประจำทุกปี นำเครื่องสูบขนาดขนาดใหญ่ 4 เครื่องช่วยสูบน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าสู่ระบบคลองชลประทานให้เป็นการบรรเทาความเดือดร้อน
“ สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ติดตามความคืบหน้าจาก ร้อยเอกธรรมนัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 คน ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการยังอธิบดีกรมชลประทาน ให้ดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์อุตรดิตถ์แล้ว ชื่อโครงการปรับปรุงโรงสูบน้ำบ้านเกาะ ด้วยงบประมาณ 120 ล้านบาท ซึ่งเข้าอยู่ในแผนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องรอทางอธิบดีกรมชลประทานและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะหยิบยกโครงการปรับปรุงโรงสูบบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะขึ้นมาอยู่ในลำดับที่เท่าไหร่
ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกับ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ นายวารุจ ศิริวัฒน์ และนายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมกล่าวขอขอบคุณแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 3 อำเภอ 8 ตำบล ที่ ส.ส.ทั้ง 3 ท่าน ช่วยผลักดันในเรื่องนี้ให้ พร้อมขอให้ช่วยติดตามและเร่งดำเนินการหยิบยกโครงการปรับปรุงโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านเกาะขึ้นมาอยู่ในลำดับต้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในพื้นที่เร็วที่สุด
นอกจากนี้ ยังได้รับคำชี้แจกจาก นายณฐพล ชุ่มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุกว่า โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ หากเสร็จแล้วสามารถสูบน้ำได้ทั้งวันทั้งคืน ทำให้ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรอีกต่อไป ” นายกเทศบาลตำบลบ้านเกาะ กล่าว
นายกเทศบาลตำบลบ้านเกาะ กล่าวย้ำด้วยว่า อยากให้โครงการนี้เสร็จไว เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ ที่ประสบปัญหามานานแล้ว เมื่อเข้าแผนอยากให้มีการหยิบยกโครงการนี้ขึ้นมาก่อน ขอขอบคุณ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 คน และนายณฐพล ชุ่มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผาจุก ช่วยผลักดันให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา.