Getting your Trinity Audio player ready...
|
“ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน วิถีชีวิตคนท้องถิ่น 9 อำเภอ ยิ่งใหญ่ งามตระการตา” กว่า 3,000 ชีวิต ร่วมรำลึกวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก ในพิธีเปิดงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด ประจำปี 2567 สื่อมวลชนเสนอให้ผู้ว่าฯ-นายกเหล่ากาชาด จัดแถลงข่าวสรุปรายรับ-รายจ่าย หลังเสร็จสิ้นการจัดงาน แจ้งให้ประชาชนรับรู้
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2566 ที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2567 โดยมีนายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกคู่กายพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อสู้กับทหารพม่าเพื่อปกป้องและกอบกู้เอกราชให้กับชาติบ้านเมือง ด้วยความกล้าหาญและเสียสละจนดาบหัก เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2316 เป็นวันที่พระยาพิชัยดาบหักได้ต่อสู้กับพม่าจนดาบหัก จนได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”.ช่วยรักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศชาติให้มั่นคงจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อพระยาพิชัยดาบหัก ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้จัดงานครั้งนี้ขึ้นเป็นปีที่57 ซึ่งเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2510
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากยิ่งขึ้น ขบวนแห่อัญเชิญเครื่องบวงสรวงสักการะพระยาพิชัยดาบหัก ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจาก 9 อำเภอ กว่า 3,000 ชีวิต แต่งกายพื้นบ้านด้วยผ้าทอ, การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีเมืองอุตรดิตถ์ การออกร้านมัจฉากาชาด, การประกวดนางสาวอุตรดิตถ์และขุนศึกคู่ใจพระยาพิชัยดาบหัก, เดินแบบผ้าไทยมหากุศล, ประกวดร้องเพลงท้องที่และท้องถิ่นสามัคคีเสียงทอง, ประกวดร้องเพลงกำนันผู้ใหญ่บ้าน, การแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์, ชมการแสดงดนตรีของศิลปินชื่อดัง การจัดงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ถึง 16 มกราคม 2567รวม 10 วัน 10 คืน
สำหรับขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมและของดีแต่ละอำเภอประกอบด้วย อำเภอบ้านโคก ขบวนผ้าทอมัดหมี่ลายโบราณอายุกว่า 100 ปี ขบวนประเพณีบุญกองข้าวจําลอง เจ้าปู่ตาหมวกคํา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่อําเภอบ้านโคก ไก่ใต้น้ำ มะขามหวาน มะขามเปรี้ยวยักษ์ สับปะรด มะขามแช่อิ่ม แหนมเนื้อแหนมหมูทำมือ มะม่วงหิมพานต์ หน่อไม้อัดถุง หมอนฟักทอง ผ้ามัดหมี่
อำเภอฟากท่า ขบวนบายศรีสู่ข้าวเอาขวัญ ขบวนแห่ข้าวพันก้อนบูชาพระแม่โพสพ นำข้าวเหนียวมานึ่ง ปั้นเป็นก้อนเล็กเท่าหัวแม่มือ นำไปติดไว้บนก้านมะพร้าว ก้านละ 5 ก้อน โดยถือว่าข้าวทั้ง 5 ก้อนนั้น คือมงคลของชีวิต เปรียบชีวิตของมนุษย์เราที่ประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ข้าวพันก้อน 1 ก้าน เปรียบเสมือนกับ 1 ชีวิต หากครอบครัวใดมี 5 คน ก็จะทำข้าวพันก้อน 5 ก้าน จากนั้นปักรวมกันที่ต้นกล้วยและแห่รอบหมู่บ้าน แต่ละก้านมารวมกันแล้วทำให้มีข้าวเป็นจำนวนหลายก้อน รวมให้ได้ 1,000 ก้อน,
อำเภอน้ำปาด “กระเทียมมีชื่อ เลื่องลือสักใหญ่ ศูนย์รวมใจพญาปาด งามธรรมชาติภูสอยดาว” ขบวนต้นผึ้ง ขบวนกองยาว ขบวนตุงล้านนา รถขบวนศิลปวัฒนธรรมของอําเภอน้ำปาด ได้นำเอกลักษณ์และของดีอําเภอน้ำปาดซึ่งประกอบด้วย พญาปาดตั้งอยู่ในบัลลังก์ ด้านหลังเป็นเสาไม้สัก ด้านหน้าพญาปาด ด้านขวา จะเป็นสับปะรดห้วยมุ่น ด้านซ้ายจะเป็นกระเทียม ซึ่งเป็นของดีประจําอําเภอน้ำปาด บริเวณ ด้านหน้ารถ ประดับด้วยผ้าทอ ลายโบราณ และผ้าทอลายน้ำไหล ซึ่งลายผ้าประจําอําเภอน้ำปาด บริเวณข้างตัวรถประกอบด้วย สับปะรด กระเทียม และผักผลไม้ และใช้วัสดุธรรมชาติ ในการตกแต่งรถ
อำเภอทองแสนขัน ขบวนศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านอําเภอทองแสนขัน มีวัฒนธรรม 3 วัฒนธรรม ในพื้นที่ ได้แก่ วัฒนธรรมล้านนา ล้านช้าง และไทยกลาง ปีนี้ขอนําเสนอศิลปวัฒนธรรมล้านนา นํา ผสานวัฒนธรรมล้านช้างซึ่งเป็นประเพณีอัญเชิญเครื่องสักการะ เพื่อเป็นพุทธบูชา อันเป็นวัฒนธรรมประจําถิ่น ชุมชนทางตอนใต้ของตําบลบ่อทอง อําเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งประกอบด้วย 1.พานหมากเบ็ง และพานพลูคํา 2.พานขันข้าวตอก 3.ต้นปราสาทผึ้ง 4.พุ่มดอกไม้เงิน และพุ่มดอกไม้ทอง 5.วันพุ่มเทียน 108 และขันธูป 108 6.ต้นธงชัย 108 7.ปราสาทอัญเชิญพระพุทธรูปเชียงแสนแร่เหล็กน้ำพี้ อันเป็นที่เคารพบูชาของอําเภอทองแสนขัน ที่ให้เมตตากับประชาชนคนทองแสนขันให้อยู่ดี มีสุขตามที่มีผ้าคํามงคลภาษาล้านนา ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ทองแสนขัน อยู่ดี มีสุข” และ ขบวนหาบทอง หาบผักผลไม้ ปลอดสารพิษ, ขบวนรถวัฒนธรรมของอําเภอทองแสนขัน ได้สื่อถึงคําขวัญของอําเภอทองแสนขัน ที่ว่าเหล็กน้ำพี้กล้าแกร่ง แหล่งถ้ำค้างคาว ภูเขาหินอ่อน ลือกระฉ่อนผ้าทอ
อำเภอท่าปลา ขบวนเชิดชูเกียรติพระยาพิชัยดาบหัก “สํานึกคุณวีรบุรุษกล้า ชาวท่าปลารวมใจ เชิดชูพระยาพิชัย” รูปพระยาพิชัยดาบหัก ขบวนเครื่องสักการะพระยาพิชัยดาบหัก ประกอบด้วย ผู้ถือพานบายศรีและผู้ถือพานดอกไม้ รถศิลปวัฒนธรรมอําเภอท่าปลา สื่อความหมายถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอําเภอท่าปลา ที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทํานา ทําไร่ และทําสวน โดยเฉพาะการทําสวนมะม่วงหิมพานต์ เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้ชาวอําเภอท่าปลาเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นที่สูงดินเป็นดิน ลูกรัง ทําให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ของอําเภอท่าปลา มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื้อแน่น หอม หวาน กรอบอร่อย เป็นสินค้าโอทอประดับ 5 ดาว เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ขบวนประเพณีตานก๋วยสลาก ขบวนประเพณีแห่ผีตลก
อำเภอตรอน ขบวนแห่คีตะมวยไทย เนื่องจากเป็นการระลึกถึงเรื่องราวของท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหักที่ได้เดินทางมา ฝึกศิลปะการต่อสู้ (มวยไทย) ณ วัดบ้านแก่งใต้ ค่ายมวยครูเที่ยง เดิมท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหักชื่อ จ้อย และได้ ฝากตัวเป็นศิษย์ครูเที่ยงแล้วได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นนายทองดี, ขบวนรถเน้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอําเภอตรอน ในตัวของรถสานตอก เครื่องจักสานที่ทําจากไม้ไผ่ หวาย ทําให้แสดงออกถึงภูมิ ปัญญาของชาวบ้านในพื้นที่ นําวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการประกอบการตกแต่ง เช่น ศิลปะงาน ใบตอง ดอกไม้สด และ ยังมีการจําลองวิถีชีวิต การทําการเกษตรของคนในพื้นที่ การประกอบอาชีพออกเรือหา ปลาในแม่น้ําน่าน เป็นการแสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ําของอําเภอตรอน ดังคํา ขวัญของอําเภอที่ว่า “ถิ่นอ้อยหวาน ธารน้ําใหญ่ ซิ่นไหมดี มีแหล่งปลา ไร่นาสมบูรณ์ ขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหาร อลังการไหลแพไฟ” พร้อมทั้งมีไฮไลท์บริเวณตรงกลางของรถขบวน คือ รูปหล่อองค์พ่อพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งเป็น สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพ่อแม่พี่น้องชาวอําเภอตรอน รวมไปถึงชาวจังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอพิชัย คําขวัญอําเภอพิชัย “ถิ่นกําเนิดพระยาพิชัย ไส้กรอกใหญ่รสเด็ด แกงเผ็ดหอยขม รื่นรมย์ดนตรีมังคละ หลวงพ่อโตพระคู่เมือง” ถิ่นกําเนิดพระยาพิชัย เดิมท่านชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา อําเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่เมืองพิชัย ภายหลังจ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ทองดี” หรือ “ทองดีฟันขาว” มีความสามารถและชื่อเสียงอย่างยิ่ง ทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ จนได้เข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดํารงตําแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์ มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงพิชัยอาสา” เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สําเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอ เจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลําดับ ภายหลังข้าศึกยกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือออกต่อสู้ จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโตพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอําเภอพิชัย ซึ่งจะมาในรูปแบบ ของผู้ถือศีลฟังธรรม เข้าวัดถือดอกไม้สีขาว ซึ่งบ่งบอกถึงความรัก ความเมตตา สักการะบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งของชาวอําเภอพิชัย และขบวนหุ่นฟางข้าวรูปกระบือหรือควาย การรณรงค์ลดการเผาและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว”
อำเภอลับแล ขบวนแห่ต้นผึ้ง ต้นดอก หมากลุ่ม หมากเป้ง ขบวนหาบน้ํา ขบวนตุง แต่งกายชุดพื้นเมือง หญิงใส่เสื้อพื้นเมือง ซิ่นตีนจก ชายใส่กางเกง เสื้อม่อฮ่อม ประเพณีเข้าวัดทําบุญตักบาตร ประชาชนส่วนใหญ่ของอําเภอลับแล ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ จะมีการเข้าวัดทําบุญตามประเพณีในวันสําคัญทางพุทธศาสนา เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ประกอบด้วยตําบลต่างๆ ในพื้นที่อําเภอลับแล นําโดย ตําบลทุ่งยั้ง ตําบลไผ่ล้อม ขบวนสินค้า OTOP และของดีอําเภอลับแล ประกอบด้วย ของดีตําบลแม่พูล ตําบลชัยจุมพล และตําบลนานกกก ขบวนรถมีการประดับตกแต่งเป็นภูเขาเมืองลับแล มีการจําลองต้นทุเรียน ต้นลางสาด ต้นลองกอง ทุเรียนซึ่งเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อําเภอลับแล ได้แก่ ทุเรียนหลงลับแล – หลินลับแล และมีมณฑปที่ ประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองลับแล อีกทั้งยังเป็นตราสัญลักษณ์ประจํา จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหน้าประดับเป็นซุ้มประตูเมืองลับแล ด้านขวาของรถมีการจําลองอนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ ปูชนียบุคคลที่ชาวลับแลให้ความเคารพนับถือ ด้านซ้ายของรถเป็นการจําลองน้ำตกแม่พูล ต้นกําเนิดแหล่งน้ำที่ หล่อเลี้ยงเมืองลับแล ด้านหลังเป็นการจําลองบันไดพญานาคของวัดพระแท่นศิลาอาสน์
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขบวนแห่เครื่องสักการบูชา ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก เสลี่ยงพระบรมรูปท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่ใจพระเจ้าตากสินมหาราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอุตรดิตถ์ และขบวนเครื่องนมัสการวัดพระฝางเป็นวัดสําคัญของเมืองสวางคบุรีที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญ (กระดูกไหปลา ร้า) ของพระพุทธเจ้า โดยถือเป็นพระธาตุกลางเมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรีซึ่งสร้างตามคติโบราณที่นิยมสร้าง พระธาตุเป็นศูนย์กลางของเมือง ทําให้วัดแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธามาตั้งแต่อดีตกาล ทั้งจากผู้คนในหัวเมือง ฝ่ายเหนือ ผู้คนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงชาวมอญจากพม่าและชาวลาว จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าบริเวณวัดพระฝางมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย โดยปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย ในฐานะที่เป็นพระธาตุสําคัญประจําเมืองฝาง เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ 2 จารึกวัดศรีชุมที่กล่าวว่าพระมหาเถร ศรีศรัทธาได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุเมืองฝางก่อนจะเดินทางต่อไปยังอ่าวเมาะตะมะเพื่อลงเรือไปยังลังกา วัดพระฝางเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหลักฐานสําคัญที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเมืองสวางค บุรีโดยได้รับการบูรณะมาโดยตลอดจึงยังสามารถตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา เป็นที่นับถือของผู้คนทั้งในจังหวัด อุตรดิตถ์และในประเทศไทยตราบจนทุกวันนี้ ความศรัทธาในพระธาตุวัดพระฝางยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สื่อมวลชนจังหวัดอุตรดิตถ์ สื่อทีวีส่วนกลาง สื่อสถานีวิทยุ สื่อออนไลน์ สื่อหนังสื่อพิมพ์ส่วนกลางและท้องถิ่นประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดแถลงข่าวสรุปรายรับ-รายจ่ายการจัดงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด ประจำปี 2567 หลังเสร็จสิ้นการจัดงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะรายรับที่ทางจังหวัดได้รับการสนับสนุนจากผู้รับเหมารวมจำนวนทั้งสิ้นเท่าไหร่ รายรับส่วนนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เรื่องใดบ้าง อาทิ การประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนให้แต่ละอำเภอจัดกิจกรรมออกร้านและขบวนแห่ เงินสนับสนุนกาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ เงินสนับสนุนเข้ามูลนิธิพระยาพิชัยดาบหัก แต่ละรายการมีจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงรายได้จากการจัดซุ้มงานกาชาด มีรายรับและรายจ่ายคงเหลือเท่าไหร่ เพื่อเตรียมนำรายได้ดังกล่าว ไปใช้ด้านประโยชน์สาธารณกุศลหรือผู้ประสบภัย นำเผยแพร่แจ้งให้ประชาชนทั้งจังหวัดได้รับรู้ต่อไป.